THEORY

THEOERY

Defensible space Theory 

Defensible Space Theory หรือ ทฤษฎีพื้นที่ป้องกันอาชญากรรม ผู้บุกเบิกยุคแรก ๆ คือ Jane Jacobs ได้ใช้วลีคำว่า “eyes on the street หรือ ดวงตาบนถนน” ซึ่งใช้ในบทความเรื่อง The Death and Life of Great American Cities ปี 1961 เพื่ออธิบายถึงสภาพแวดล้อมที่สร้างขึ้นมา ประกอบด้วย พื้นที่สาธารณะ ให้มีสามารถมองเห็นได้อยู่เสมอ Jacob วิพากษ์วิจารณ์ถึงหลักการวางผังเมืองสมัยใหม่ที่ทำให้ผู้อยู่อาศัยขาดการติดต่อทางสังคมจากกันและกันและจากสภาพแวดล้อมทางกายภาพ เธอได้ให้การสนับสนุนเรื่อง การเพิ่มความหนาแน่นของพื้นที่ และการวางแนวโครงสร้างใหม่ของอาคารให้หันไปทางถนน Jacob เพิ่มข้อโต้แย้งว่าพื้นที่เปลี่ยว มืด และมีลักษณะปิดระหว่างอาคารนั้นจะก่อให้เกิดอาชญากรรมบนท้องถนน ในขณะที่ทัศนวิสัยแบบโล่งกว้างบริเวณชุมชนเมืองจะทำหน้าที่เป็นตัวยับยั้งการเกิดอาชญากรรมได้ดีกว่า แนวคิดของเธอได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามีอิทธิพลต่อทั้งการนำไปปฏิบัติและได้มีนักทฤษฎีที่พยายามอธิบายเกี่ยวกับการออกแบบสิ่งแวดล้อมเพื่อป้องกันอาชญากรรมเพิ่มเติมจากแนวคิดนี้อีกด้วย หลังจากนั้นไม่นาน Oscar Newman ได้ขยายแนวคิดงานของ Jacobs พัฒนาเป็นทฤษฎีพื้นที่ป้องกันของสถาปนิกและนักวางผังเมือง Oscar Newman ครอบคลุมแนวคิดเกี่ยวกับการป้องกันอาชญากรรมและความปลอดภัยของพื้นที่ใกล้เคียง Newman ให้เหตุผลว่าการออกแบบสถาปัตยกรรมและสิ่งแวดล้อมมีส่วนสำคัญในการเพิ่มหรือลดอาชญากรรม ทฤษฎีนี้พัฒนาขึ้นในช่วงต้นทศวรรษ 1970 และเขาได้เขียนหนังสือเล่มแรกในหัวข้อ Defensible Space ในปี 1972 หนังสือเล่มนี้ประกอบด้วยการศึกษาจาก New York ที่ชี้ให้เห็นว่าอัตราการเกิดอาชญากรรมใน high-rise housing projects สูงกว่า low-rise complexes โดยสรุปว่าเป็นเพราะผู้อยู่อาศัยรู้สึกว่าไม่มีการควบคุมหรือความรับผิดชอบส่วนตัวสำหรับพื้นที่ที่มีผู้คนจำนวนมากครอบครอง ตลอดการศึกษาของ Newman มุ่งเน้นไปที่การอธิบายแนวคิดเกี่ยวกับการควบคุมทางสังคม การป้องกันอาชญากรรม และสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบชุมชน จึงกล่าวได้ว่า Defensible Space Theory เป็นทฤษฎีที่ว่าด้วยการยืนยันว่าการออกแบบพื้นที่ทางกายภาพมีอิทธิพลต่อวิถีการใช้ชีวิตของผู้อยู่อาศัยในพื้นที่และบุคคลภายนอกซึ่งเป็นผู้ที่มีปฏิสัมพันธ์กับพื้นที่นั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่เขตเมือง

Read More »
THEOERY

Radical Theory

อาชญาวิทยาแนวรุนแรง (Radical Criminology) มีรากฐานมาจากแนวคิดของ Marxist โดยทฤษฎีนี้ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นในสหรัฐอเมริกาในช่วงทศวรรษที่ 1960 ท่ามกลางการเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิพลเมืองและต่อต้านสงคราม การประท้วงของนักศึกษาและชนกลุ่มน้อยทำให้นักสังคมวิทยาและนักอาชญาวิทยามองหาคำอธิบายสถานการณ์ความไม่สงบทางสังคมและการเมืองในอเมริกา นอกจากนี้ ขณะนั้นยังเกิดความขัดแย้งเกี่ยวกับปัญหาทางเชื้อชาติและสงครามเวียดนามส่งผลให้เกิดความขัดแย้งกับรัฐ รวมทั้งการจลาจลและความรุนแรงในรูปแบบอื่นๆ รัฐบาล นักวิจัย และนักวิชาการต่างหาทางตอบโต้และควบคุมการเคลื่อนไหวเหล่านี้ ซึ่งในที่สุดจะนำไปสู่การขยายตัวอย่างรวดเร็วของกระบวนการยุติธรรมทางอาญา นักอาชญาวิทยาแนวรุนแรงได้นำแนวคิดทางอุดมการณ์มาสู่อาชญาวิทยา โดยเปลี่ยนจุดสนใจจากความรับผิดชอบส่วนบุคคลในอาชญากรรมและมุ่งสู่ประเด็นทางสังคมโดยรวม อาชญาวิทยาแนวรุนแรง บางครั้งเรียกว่า Marxist, Conflict, or Critical Criminology มุมมองเชิงอุดมการณ์ที่กำหนดไว้ในช่วงปีแรก ๆ ของอาชญาวิทยาแนวรุนแรง เป็นรากฐานสำหรับนักอาชญาวิทยาที่สนใจในอนาธิปไตย สิ่งแวดล้อม สตรีนิยม รัฐธรรมนูญ วัฒนธรรม การสร้างสันติภาพ การฟื้นฟู และสาขาอื่นที่เกี่ยวข้องกับ Critical Criminology  นักอาชญาวิทยาแนวรุนแรงหรือนักอาชญาวิทยาแนววิพากษ์ทุกสาขามีแนวคิดและหลักการร่วมกัน โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่การกระจายอำนาจและวิธีการที่กฎหมายคุ้มครองผลประโยชน์ของชนชั้นปกครอง ตามหลักการของ Marxist ซึ่งเป็นอุดมการณ์ที่โต้แย้งว่า ผู้มีอำนาจสูงสุดในสังคมทุนนิยมออกกฎหมายเพื่อใช้อำนาจควบคุมชนชั้นล่าง  นักอาชญาวิทยาแนวรุนแรงหรือนักอาชญาวิทยาแนววิพากษ์หลายคนมีบทบาททางการเมืองในช่วงทศวรรษที่ 1960 โดยทั่วไปยึดหลักการของ Marxist แม้ว่า Marx จะไม่ได้กล่าวถึงอาชญากรรมโดยเฉพาะ แต่งานเขียนของเขาเน้นไปที่กฎหมาย อำนาจ และการควบคุมทางสังคมและเศรษฐกิจ ซึ่งแต่ละประเด็นล้วนเป็นตัวแปรสำคัญที่ต้องพิจารณาในการตรวจสอบอาชญากรรมและความยุติธรรม นักอาชญาวิทยาแนวรุนแรงโต้แย้งว่า ผู้มีอำนาจใช้กฎหมายสนองความต้องการส่วนตนโดยการกำหนดนโยบายสาธารณะ แทนที่จะกำหนดนโยบายเพื่อประโยชน์สาธารณะ นอกจากนี้ นักอาชญาวิทยาแนวรุนแรงมองว่า กฎหมายเป็นชุดกฎเกณฑ์ที่รัฐกำหนดเพื่อบังคับใช้ และระบบยุติธรรมทางอาญาก็พยายามที่จะทำให้ผู้ต่อต้านเป็นกลาง โดยพุ่งเป้าไปที่การกระทำของผู้ที่ถูกกดขี่มากที่สุด นอกจากนี้ กฎหมายเหล่านี้ยังสร้างลำดับชั้นเพื่อสนองผลประโยชน์ของผู้มีอำนาจ  ผู้มีอำนาจบังคับใช้กฎหมายแบบเลือกปฏิบัติ

Read More »
THEOERY

Collective Efficacy Theory

คำว่า ประสิทธิภาพของการรวมกลุ่ม (Collective Efficacy) ถูกนำมาใช้เป็นแนวคิดครั้งแรกโดย Bandura (1982, 1986) การพิจารณาแนวคิดในช่วงแรกๆ ส่วนใหญ่เป็นแนวคิดเกี่ยวกับประสิทธิภาพของการรวมกลุ่มในกลุ่มขนาดใหญ่มาก เช่น ประชาชาติและขบวนการทางสังคม ต่อมาช่วง 1990s แนวคิดทางสังคมศาสตร์เกิดขึ้นเมื่อ Sampson (2006) นำแนวคิดนี้ไปใช้กับการศึกษาย่านชุมชนใน Chicago การศึกษาของเขาได้สรุปแนวคิดว่า “ประสิทธิภาพของการรวมกลุ่มเป็นคุณสมบัติของชุมชนที่อาจสามารถช่วยล้อาชญากรรมความรุนแรงได้”  ทฤษฎีประสิทธิภาพของการรวมกลุ่ม (Collective Efficacy Theory) เป็นกระบวนการของการกระตุ้นหรือเปลี่ยนความสัมพันธ์ทางสังคมในหมู่ผู้อยู่อาศัยในละแวกใกล้เคียง เพื่อให้บรรลุเป้าหมายร่วมกัน เช่น ความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือเพื่อควบคุมอาชญากรรม ในอาชญาวิทยา คำว่า Collective Efficacy หมายถึง ความสามารถของสมาชิกในชุมชนในการควบคุมพฤติกรรมของบุคคลและกลุ่มในชุมชน การควบคุมพฤติกรรมของผู้คนช่วยให้ผู้อยู่อาศัยในชุมชนสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยและเป็นระเบียบเรียบร้อย Collective Efficacy เกี่ยวข้องกับผู้อยู่อาศัยในการตรวจสอบเด็กหรือเยาวชนที่ใช้ชีวิตในพื้นที่สาธารณะ เพื่อร่วมกันเป็นหูเป็นตา ป้องกันพฤติกรรมเบี่ยงเบนที่อาจเกิดในเยาวชน แนวคิดของ Collective Efficacy ถูกนำมาใช้เพื่ออธิบายว่าทำไมย่านเมืองจึงมีปริมาณอาชญากรรมที่เกิดขึ้นแตกต่างจากละแวกใกล้เคียง จะพบว่าในเขตเมืองที่เพื่อนบ้านเฝ้าติดตามพฤติกรรมของกลุ่มและเต็มใจที่จะเข้าแทรกแซงเพื่อยุติการทะเลาะวิวาทหรือป้องกันความวุ่นวาย อาชญากรรมรุนแรงมีโอกาสเกิดขึ้นน้อยกว่า เพื่อสร้างประสิทธิภาพของการรวมกลุ่มในชุมชน สมาชิกจะต้องมีความรู้สึกไว้วางใจและความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันที่ดีต่อกัน ในชุมชนที่ไม่มีกฎเกณฑ์ที่ชัดเจนสำหรับความร่วมมือระหว่างเพื่อนบ้าน หรือเพื่อนบ้านไม่ไว้วางใจ หรือเกรงกลัวซึ่งกันและกัน ผู้อยู่อาศัยมีโอกาสน้อยที่จะทำงานร่วมกันเพื่อควบคุมดูแลพฤติกรรมของบุคคลในชุมชน ในทางกลับกัน ในชุมชนที่ผู้คนไว้วางใจกันมากและเต็มใจให้ความร่วมมือมากกว่ามีแนวโน้มที่จะยับยั้งอาชญากรรมได้มากกว่า กล่าวได้ว่า ประสิทธิภาพของการรวมกลุ่ม ทำให้สมาชิกในชุมชนรู้สึกผูกพันกันอย่างมาก ประสิทธิภาพของการรวมกลุ่ม (Collective Efficacy) ขึ้นอยู่กับค่านิยมที่สมาชิกในชุมชนใช้หรือกำหนดร่วมกัน หากสมาชิกในชุมชนไว้วางใจซึ่งกันและกันและเต็มใจที่จะร่วมมือกันเพื่อป้องกันความรุนแรงและอาชญากรรม มีแนวโน้มว่าพวกเขาจะสามารถสร้างสภาพแวดล้อมของชุมชนที่ปลอดภัยได้ นอกจากนี้ ประสิทธิภาพของการรวมกลุ่ม ยังรวมถึงพฤติกรรม

Read More »
THEOERY

Space Transitional Theory

ทฤษฎีการเปลี่ยนผ่านเชิงพื้นที่ (Space Transitional Theory) ได้รับการตีพิมพ์ครั้งแรกในหนังสือชื่อ “Crimes of the Internet” ในปี 2008 โดย K. Jaishankar ทฤษฎีนี้เป็นหนึ่งทฤษฎีอาชญาวิทยาที่ถูกกล่าวถึงบ่อยที่สุดในการอธิบายอาชญากรรมไซเบอร์ (cybercrime) ทฤษฎีนี้มองว่าการเกิดขึ้นของพื้นที่โลกออนไลน์ เป็นสถานที่ใหม่ของแหล่งเกิดอาชญากรรม และใช้อธิบายสาเหตุของอาชญากรรมในพื้นที่โลกออนไลน์ โลกปัจจุบันเดินทางมาถึงช่วงเวลาที่ไม่มีนักวิทยาศาสตร์หรือนักสังคมวิทยาท่านใดที่สามารถอธิบายปรากฏการณ์โดยรวมของอาชญากรรมทางไซเบอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพเท่ากับ Jaishankar “ทฤษฎีการเปลี่ยนผ่านเชิงพื้นที่ อธิบายธรรมชาติของพฤติกรรมบุคคลที่สอดคล้องและไม่สอดคล้องกันในพื้นที่ของโลกความเป็นจริงและในพื้นที่โลกออนไลน์ การเปลี่ยนผ่านเชิงพื้นที่ เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่ของบุคคลจากพื้นที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง เช่น จากพื้นที่ของโลกความเป็นจริงไปยังโลกไซเบอร์ ทฤษฎีการเปลี่ยนผ่านเชิงพื้นที่ โต้แย้งว่า ผู้คนมีพฤติกรรมแตกต่างกันเมื่อพวกเขาย้ายจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง”  อย่างไรก็ตาม ทฤษฎีนี้มีการตรวจสอบเชิงประจักษ์หลายครั้งเพื่อทดสอบประโยชน์ของทฤษฎีนี้ นักวิชาการบางคนชื่นชมข้อมูลเชิงลึกของ Jaishankar ในการรับมือกับอาชญากรรมทางไซเบอร์ ในขณะที่คนอื่น ๆ วิพากษ์วิจารณ์ว่าข้อเสนอบางอย่างในทฤษฎีของเขาค่อนข้างยากที่จะทดสอบ และอาจใช้อธิบายกับอาชญากรรมทางไซเบอร์ได้บางรูปแบบเท่านั้น ข้อเสนอของทฤษฎีการเปลี่ยนผ่านเชิงพื้นที่ 1.บุคคลที่พยายามเก็บกดพฤติกรรมอาชญากรไว้ในชีวิตจริง (ในพื้นที่ของโลกความเป็นจริง) มีแนวโน้มที่จะก่ออาชญากรรมในโลกไซเบอร์ เนื่องจากไม่สามารถกระทำในพื้นที่ของโลกความเป็นจริงได้ อาจเนื่องจากสถานะและตำแหน่งในสังคม ข้อเสนอนี้ Jaishankar อธิบายว่า บุคคลจะรู้สึกผิดในระดับที่แตกต่างกันไปจากการมีส่วนร่วมในการกระทำผิด โดยทั่วไปบุคคลจะกังวลเกี่ยวกับสถานะทางสังคมและในการตัดสินใจกระทำผิด ของบุคคลจะคำนวณความเสี่ยงทางสังคมและประโยชน์จากการเป็นอาชญากร กล่าวอีกนัยหนึ่ง คนที่มีความรู้สึกผิดอาจไม่ยอมรับวิถีชีวิตที่เป็นอาชญากร ถ้าผลของการกระทำผิดมีผลเสียต่อสถานะทางสังคมและเกิดความอับอาย อย่างไรก็ตาม Jaishankar ตั้งข้อสังเกตว่า แนวโน้มของบุคคลที่จะประพฤติในลักษณะนี้พบความเกี่ยวข้องในพื้นที่ของโลกความเป็นจริงเท่านั้น หากบุคคลเดียวกันย้ายไปอยู่ในโลกไซเบอร์ พวกเขาจะกังวลเกี่ยวกับสถานะทางสังคมน้อยลง คล้ายกับการซ่อนตัวอยู่หลังหน้ากาก อาชญากรในโนโลกออนไลน์ไม่ต้องกลัวว่าจะต้องเผชิญความอับอายขายหน้าในสังคม เพราะไม่มีใครสามารถระบุตัวตนที่แท้จริงได้  Jaishankar กล่าวเพิ่มเติมว่า

Read More »
THEOERY

Marxist Theory of Crime

Marxism เป็นทฤษฎีโครงสร้างความขัดแย้งในสังคมวิทยา ริเริ่มแนวคิดโดย Karl Marx and Friederich Engels (1848) กล่าวถึงโครงสร้างในสังคมที่ใช้แนวทาง top-down หรือ จากบนลงล่าง โดยพิจารณาการทำงานในแง่ของความสัมพันธ์เชิงสถาบันซึ่งกำหนดพฤติกรรมของมนุษย์ Marxism เชื่อว่าความขัดแย้งทางชนชั้นเป็นแก่นแท้ของทุกสังคม ความขัดแย้งนี้เกิดขึ้นระหว่างผู้มีอำนาจและผู้ไร้อำนาจ ซึ่งเกิดตามธรรมชาติของระบบทุนนิยม การควบคุมทางสังคมดำเนินการโดยชนชั้นนายทุน (ชนชั้นปกครอง) กับชนชั้นกรรมาชีพ (ชนชั้นกรรมกร) โดยอิงตามการกำหนดระดับทางเศรษฐกิจ (economic determinism)  Economic determinism หมายถึง แนวคิดที่ว่าความสัมพันธ์ที่สำคัญที่สุดของสังคมคือสิ่งที่อยู่บนพื้นฐานของปัจจัยทางเศรษฐกิจ (เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง) กล่าวคือ ความสัมพันธ์อื่นๆ ทั้งหมด เช่น ความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมหรือการเมือง ล้วนถูกกำหนดโดยรูปแบบของความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ Karl Marx and Friederich Engels (wikimedia commons) Marxism เชื่อว่าระบบเศรษฐกิจทุนนิยม คือ อาชญากร หรือ เป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดพฤติกรรมเบี่ยงเบนในสังคม (criminogenic) การเกิดขึ้นของอาชญากรรมและพฤติกรรมเบี่ยงเบนถูกอธิบายโดย Marxism ว่าเป็นผลมาจากธรรมชาติของระบบทุนนิยม ลักษณะสำคัญคือการเพิ่มผลกำไรสูงสุดผ่านการเป็นเจ้าของกิจการส่วนตัวเหนือวิธีการผลิต Marxism ให้เหตุผลว่าระบบทุนนิยมส่งเสริมการแข่งขัน ความโลภ และการเอารัดเอาเปรียบโดยมีเป้าหมายเพื่อความสำเร็จส่วนบุคคล การพยายามครอบครองทางวัตถุทำให้เกิดแรงกดดันให้ผู้คนทำทุกวิถีทางเพื่อให้บรรลุเป้าหมายนี้แม้ว่าจะการกระทำจะฝ่าฝืนกฎหมายก็ตาม Marxism ตั้งข้อสังเกตว่าความกดดันในการบรรลุความมั่งคั่งส่งผลกระทบต่อสมาชิกทุกคนในสังคม Marxism เสนอว่าแรงกดดันในการบรรลุความมั่งคั่งส่งผลกระทบต่อสมาชิกทุกคนในสังคมไม่ว่าจะมาจากความยากจนหรือความมั่งคั่งก็ตาม เนื่องจากคุณค่าที่ติดอยู่กับผลประโยชน์ทางการเงิน การละเมิดกฎหมายจึงถูกมองว่าเป็นวิธีที่ถูกต้อง (หรือสมเหตุสมผล) แม้แต่อาชญากรรมที่ไม่มีผลประโยชน์ก็สามารถหาเหตุผลเข้าข้างตนเองได้ อันเป็นผลมาจากความผิดหวังที่เกิดจากแรงกดดันของทุนนิยม แม้ว่าการโจรกรรม การลักขโมย จะเป็นอาชญากรรมทั่วไปที่มีเป้าหมายเพื่อผลประโยชน์ทางการเงินแต่อาชญากรรมที่คนรวยก่อขึ้นก็มีผลลัพธ์ด้านผลประโยชน์ทางการเงินที่คล้ายคลึงกัน

Read More »
THEOERY

Differential Opportunity Theory

ทฤษฎีของโอกาสที่แตกต่างกัน (Differential opportunity theory) โดย Richard Cloward และ Lloyd Ohlin (1960) ได้แสดงถึงความเชื่อมโยงระหว่างทฤษฎี Differential association, Subculture, Strain และ Social Disorganization โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของทฤษฎีการคบหาสมาคมที่แตกต่างของ Sutherland เริ่มจากสมมติฐานที่ว่าแรงจูงใจของการกระทำผิดทางอาญา เทคนิคในการกระทำผิด และการหาเหตุผลเข้าข้างตนเองนั้นเรียนรู้ผ่านการคบหาสมาคมกับอาชญากร นอกจากนี้ Cloward และ Ohlin ได้ต่อยอดแนวคิดของ Merton และ Cohen ที่ว่าพฤติกรรมเบี่ยงเบนเป็นผลมาจากแรงกดดันเฉพาะของชั้นในการปรับตัวหรือการเข้าถึงวิธีการที่ถูกต้องที่ถูกจำกัดของชนชั้นที่ต่ำกว่าและการปรับตัวนี้มักจะเกิดขึ้นรวมกันผ่านกระบวนการปฏิสัมพันธ์ในกลุ่ม Cloward และ Ohlin โต้แย้งว่า Cohen ว่าไม่ใช่ทุกคนที่ประสบปัญหาการปรับตัวจนผันตัวกลายเป็นอาชญากร “โอกาสที่แตกต่างในการเข้าถึงการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเป็นสาเหตุสำคัญด้วยเช่นกัน” ตัวอย่างเช่น การค้ายาเสพติดเข้าถึงได้ยากในเมืองแต่ในบางชุมชนกลับเข้าถึงได้ง่าย บุคคลที่ตั้งใจจะเป็นผู้ค้ายาไม่เพียงแต่ต้องเข้าถึงการจัดหายาเท่านั้น แต่ยังต้องมีฐานลูกค้าและมุมถนนที่เขาสามารถขายยาได้ อย่างไรก็ตาม การเข้าถึงวิธีการเหล่านี้ไม่ได้เปิดกว้างสำหรับทุกคน ต้องมีความสัมพันธ์กับผู้ที่มีประสบการณ์ในกลุ่มผู้กระทำผิด ซึ่งพวกเขาต้องยินดีแบ่งปันความรู้และเครือข่ายวิชาชีพ อีกหนึ่งตัวอย่างเช่น โอกาสในการบุกเข้าโจรกรรมรถ ซึ่งโอกาสขึ้นอยู่กับสภาพสิ่งแวดล้อม หากเพื่อนบ้านใกล้เคียงเป็นหูเป็นตา โอกาสโจรกรรมย่อมน้อยลง ซึ่งเป็นไปตามข้อสันนิษฐานทฤษฎี Social disorganization ของ Shaw and McKay  Cloward และ Ohlin ได้ศึกษาเกี่ยวกับอาชญากรรมรวมถึงวิธีการก่ออาชญากรรม โดยได้ศึกษาว่า โอกาสที่แตกต่างกันในการประสบความสำเร็จจะส่งผลต่อการเลือกชีวิตและการตัดสินใจก่ออาชญากรรมได้อย่างไร ผู้คนทั่วโลกมีแนวปฏิบัติ ค่านิยม และกฎเกณฑ์ที่แตกต่างกัน ระบบความคาดหวังและการปฏิบัติในชีวิตประจำวันนี้เรียกว่า วัฒนธรรม Cloward และ Ohlin จึงศึกษาว่าวัฒนธรรมที่แตกต่างกันเหล่านี้ส่งผลด้านโอกาสต่อคนหนุ่มสาวอย่างไร และโอกาสเหล่านี้ส่งผลต่อความรู้สึกเกี่ยวกับชีวิตอย่างไร ตัวอย่างเช่น เมื่อคนหนุ่มสาววัยทำงานไม่สามารถหางานที่มีรายได้ดีหรือบรรลุสถานะชนชั้นกลาง พวกเขาอาจหันไปก่ออาชญากรรม การขาดโอกาสในการได้งานที่ถูกต้องตามกฎหมายทำให้คนหนุ่มสาวรู้สึกถูกตัดขาดจากวัฒนธรรมของตนเอง เพิ่มโอกาสที่พวกเขาหันไปหาวัฒนธรรมย่อยแทน  ในทุกวัฒนธรรมมีโอกาสสำหรับคนหนุ่มสาวที่จะได้รับความมั่งคั่ง

Read More »
THEOERY

Labelling Theory ทฤษฎีตีตรา

ทฤษฎีการตีตราเน้นว่า ความคิดเห็นของผู้อื่นมีอิทธิพลต่อวิธีที่เราคิดต่อตนเองอย่างไร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทฤษฎีการตีตราบอกว่า เมื่อคนอื่นมองว่าเราเป็นอาชญากร เราจะเปลี่ยนแนวความคิดในตนเองเพื่อให้เข้ากับสิ่งที่คนอื่นคิดเกี่ยวกับเรา และหากพวกเขาตีตราว่าเราเป็นผู้ร้าย เราก็จะดำเนินการตามการตีตรานั้นในที่สุด กล่าวอีกนัยหนึ่งเราจะกลายเป็นผู้กระทำความผิดเพราะคนอื่นบอกว่าเราเป็นผู้กระทำความผิด แนวคิดเรื่องทฤษฎีการตีตรา เฟื่องฟูในสังคมวิทยาอเมริกันในช่วงทศวรรษ 1960 แนวคิดหลักสามารถสืบย้อนไปถึงงานของ Emile Durkheim, George Herbert Mead, Frank Tannenbaum, Edwin Lemert, Albert Memmi, Erving Goffman และ David Matza ซึ่งมีบทบาทในการพัฒนาและวิจัยทฤษฎีการตีตราเช่นกัน Edwin Lamert Lemert ได้ตีพิมพ์หนังสือ Social Pathology ในปี ค.ศ.1951 ต่อมาได้พัฒนาแนวคิดเรื่อง secondary deviance และได้พัฒนามุมมองนี้ต่อไปในหนังสือเรื่อง Human deviance, Social problems, และ Social control ซึ่งตีพิมพ์ในปี

Read More »
THEOERY

Institutional Anomie Theory

เหตุใดประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศแห่งอภิสิทธิ์ เสรีภาพ และมีความเป็นปัจเจก จึงมีอาชญากรรมเกิดขึ้นจำนวนมาก ?  ทฤษฎีการไร้กฎเกณฑ์ของสถาบันทางสังคม (Institutional Anomie Theory) พัฒนาขึ้นโดย Stephen F. Messner and Richard Rosenfeld ในงานเขียน Crime and the American Dream (1994) กล่าวว่า เสรีภาพและอภิสิทธิ์ ความปรารถนาร่ำรวย เพื่อบรรลุ Ametican dream หรือ ยึดติดกับวัตถุ (Materialism) มีส่วนทำให้เกิดอาชญากรรมในอเมริกา ดังประโยค “crime in America derives, in significant measure, from highly prized cultural and social conditions” (Messner

Read More »
THEOERY

Feminist Theory of Female Delinquency

ในช่วงทศวรรษ 1980 Meda Chesney-Lind ได้กล่าวสรุปว่า เหตุใดทฤษฎีอาชญาวิทยาจึงไม่เพียงพอในการอธิบายเกี่ยวกับการกระทำผิดของผู้หญิง โดยตั้งข้อสังเกตว่าทฤษฎีต่าง ๆ เกิดจากการมองผู้ชายเป็นศูนย์กลาง (Androcentric) โดยเน้นที่ประสบการณ์ของผู้ชาย ในปี 1988ผู้เขียนงานร่วมกัน Kathleen Daly และ Chesney-Lind โต้แย้งว่าการคิดในปัจจุบันไม่ได้ตระหนักถึงปัจจัยเฉพาะที่ทำให้ผู้หญิงตัดสินใจประกอบอาชญากรรมแตกต่างจากผู้ชาย มีข้อโต้แย้งว่าเด็กผู้หญิงที่กำลังเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมทางอาญามีจำนวนมากขึ้น นอกจากนี้ Chesney-Lind และ Lisa Pasko พบว่า ผู้หญิงมีส่วนร่วมในการกระทำความผิดทางอาญา โดยเฉพาะความผิดสำหรับเด็กและเยาวชนมากกว่าผู้ชาย เพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านี้ Chesney-Lind ได้พัฒนารูปแบบสตรีนิยม (Feminist Model) สำหรับการกระทำผิดของผู้หญิง เธอแย้งว่าสังคมอเมริกันเป็นสังคมปิตาธิปไตย (Patriarchal) หมายความว่า สังคมถูกครอบงำโดยผู้ชายและผู้หญิงถูกผลักไสให้อยู่ในสถานะชั้นรอง เนื่องจากการปกครองแบบปิตาธิปไตยนี้ทำให้สตรีตกอยู่ในสถานการณ์ที่ไร้ซึ่งอำนาจ ผู้หญิงมีโอกาสตกเป็นเหยื่อทั้งทางเพศและทางร่างกายมากขึ้น การตกเป็นเหยื่อและการไร้อำนาจในบริบทของสังคมปิตาธิปไตยนี้ทำให้วัยรุ่นเพศหญิงมีพฤติกรรมเบี่ยงเบนเข้าสู่การกระทำผิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการตกเป็นเหยื่อของเพศหญิงที่กระตุ้นให้เหยื่อกลายเป็นอาชญากร ตัวอย่างเช่น ภรรยาที่แทงสามีจนเสียชีวิตเพราะทนทรมานจากการถูกทำร้ายร่างกายไม่ไหว นอกจากนี้ ระบบยุติธรรมเด็กและเยาวชนมีการปฏิบัติต่อการกระทำความผิดเพศหญิงแตกต่างจากเพศชาย ผู้หญิงมักถูกลงโทษรุนแรงกว่าเมื่อกระทำพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ (status offence) หากเปรียบเทียบกับฝ่ายชาย กระบวนการยุติธรรมจึงกลายเป็นเครื่องมือสำหรับการควบคุมทางสังคมเฉพาะสตรีอย่างเดียว หรือแท้จริงแล้วเป็นระบบที่มุ่งเป้าทำให้ผู้หญิงถูกกดขี่เพิ่มขึ้นจากอำนาจปิตาธิปไตย (Chesney-Lind, 1989) ความสำคัญของการศึกษาการกระทำความผิดของผู้หญิง เพื่อให้เข้าใจถึงความสำคัญทฤษฎีของ Chesney-Lind จำเป็นต้องเข้าใจความคิดสตรีนิยมและความไม่ครอบคลุมของทฤษฎีอาชญาวิทยากระแสหลัก ความคิดสตรีนิยมนำเสนอแนวคิดที่ว่า เพศมีผลกระทบต่อชีวิตทางสังคมทุกด้าน ทุกความสัมพันธ์ทางสังคมและทุกโครงสร้างทางสังคมได้รับผลกระทบจากการรับรู้ของชายและหญิง เนื่องจากอาชญากรรมเป็นโครงสร้างทางสังคม นักวิจัยสตรีนิยมจึงยืนยันว่าเพศมีผลกระทบต่ออาชญากรรม (Chesney-Lind & Pasko, 2004)

Read More »
THEOERY

Reintegrative Shaming

Shaming การทำให้อับอาย อธิบายรูปแบบของปฏิกิริยาของคนในสังคมต่อบุคคลที่มีพฤติกรรมเบี่ยงเบน Braithwaite กล่าวว่า การทำให้อับอายแบ่งเป็น 2 รูปแบบ อันดับแรก Disintegrative shaming หรือ การทำให้อับอายแบบตีตรา เป็นการทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียง (stigmatising) และกีดกันบุคคลจากชุมชน ดังนั้นจึงทำให้เกิดความเบี่ยงเบนแบบทุติยภูมิ (secondary deviance) และผู้กระทำผิดไม่อาจกลับคืนสู่สังคมจากการตีตรา ในทางกลับกัน Reintegrative shaming หรือ การทำให้อับอายแบบบูรณาการ นอกจากจะกล่าวถึงการไม่ยอมรับการเบี่ยงเบน ยังเห็นความสำคัญของการให้อภัยและความเต็มใจที่จะยอมรับผู้กระทำความผิดกลับคืนสู่ชุมชนอีกด้วย จากทฤษฎีการตีตรา (Labelling theory), ทฤษฎีการควบคุมทางสังคม (Control theory) และทฤษฎีความไร้ระเบียบทางสังคม (social disorganization theory) Braithwaite ได้แยกแยะความแตกต่างระหว่างสองรูปแบบของการทำให้อับอาย (shaming) เพื่ออธิบายวิธีการลงโทษที่สำเร็จผล Braithwaite กล่าวถึงการทำให้อับอายว่า “เป็นกระบวนการทางสังคมทั้งหมดในการแสดงความไม่ยอมรับเจตนาหรือความสำนึกผิดในตัวผู้เคยกระทำความผิด โดยการประณามผู้กระทำผิดให้เกิดความละอาย” (Braithwaite, 1989: 100) Braithwaite แบ่งการทำให้อับอายออกเป็น

Read More »
THEOERY

Deterrence Theory หรือ ทฤษฎีการป้องกันหรือการข่มขู่ยับยั้ง

Deterrence หรือ การยับยั้งข่มขู่ เป็นแนวคิดหรือทฤษฎีที่ว่าการยับยั้งข่มขู่ของการลงโทษจะขัดขวางผู้คนจากการก่ออาชญากรรมและลดโอกาส หรือระดับ

Read More »
THEOERY

สำนักอาชญาวิทยาดั้งเดิม หรือ โรงเรียนอาชญาวิทยาคลาสสิก

Cesare Beccaria ถูกยกย่องให้เป็น “บิดาแห่งอาชญาวิทยา” เนื่องจากมีแนวคิดเกี่ยวกับอาชญากรรม การลงโทษ และกระบวนการยุติธรรมทางอาญา

Read More »
THEOERY

The Origins of Modern Criminology

แนวคิดที่สำคัญของ “ทฤษฎีคลาสสิก” นั้นค่อนข้างง่าย ปัจเจกบุคคลเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีเหตุมีผลซึ่งมีความสนใจในตนเอง “พยายามเพิ่มความสุขให้สูงสุด

Read More »
THEOERY

Howard S. Becker

Howard Saul Becker (18 เมษายน ค.ศ.1928) เป็นนักสังคมวิทยาชาวอเมริกัน สอนที่ Northwestern University Becker มีส่วนสำคัญในสังคมวิทยา

Read More »