Neutralization theory หรือ ทฤษฎีการแก้ตัว เผยแพร่ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1957 โดยนักอาชญาวิทยา Gresham Sykes และ David Matza เพื่ออธิบายว่า บรรดาผู้กระทำผิดที่ยังเป็นเด็ก สามารถต่อสู้กับสามัญสำนึก หรือความรู้สึกผิดเมื่อลงมือกระทำความผิดได้อย่างไร นักอาชญาวิทยาทั้งสองคนเชื่อว่าเมื่อผู้เยาว์ตัดสินใจกระทำการอันขัดต่อกฎหมาย พวกเขามักมีการให้เหตุผลเพื่อแก้ตัวหรือลบล้างความรู้สึกผิดให้กับตนเอง
Sykes และ Matza คิดเช่นเดียวกับ Sutherland ว่าอาชญากรมีการเรียนรู้พฤติกรรม และการเรียนรู้นั้นเกี่ยวข้องกับ “แรงจูงใจ แรงผลักดัน การหาเหตุผลเข้าข้างตนเอง และทัศนคติที่เอื้อต่อการละเมิดกฎหมาย” กล่าวคือ เทคนิคการวางตัวเป็นกลางอาจเป็น “องค์ประกอบสำคัญ” ของ “คำจำกัดความของ Sutherland ที่เป็นประโยชน์ต่อการละเมิดกฎหมาย” กล่าวคือ การวางตัวเป็นกลางอาจมีแนวโน้มที่จะส่งเสริมอาชญากรรมมากกว่าวิธีอื่น
ผู้กระทำผิดสามารถมีส่วนร่วมในการกระทำผิดโดยใช้ “เทคนิคบางอย่างในการแก้ตัว” แม้ว่าผู้กระทำผิดจะเชื่อว่า การกระทำผิดนั้นไม่ดี แต่พวกเขาอ้างว่าการกระทำผิดนั้นได้รับการแก้ตัวด้วยเหตุผลหลายประการ (เช่น เหยื่อมาหาเขาเอง พวกเขาไม่ได้ทำร้ายใครเลยจริงๆ) เหตุผลเหล่านี้ถูกใช้ก่อนการกระทำผิด และเพื่อทำให้การกระทำผิดเป็นไปได้จึงมีการทำให้ความเชื่อของแต่ละบุคคลเป็นกลางหรือเรียกเทคนิคการแก้ตัว
กล่าวโดยสรุป เทคนิคข้อแก้ตัว เป็นกลไกที่ผู้คนใช้เพื่อหลบหนีการควบคุมของสังคมและรู้สึกอิสระที่จะมีส่วนร่วมในการก่ออาชญากรรม ข้อมูลสนับสนุนทฤษฎีข้อแก้ตัวมี หลักฐานจำนวนมากบ่งชี้ว่า ผู้กระทำความผิดมักให้เหตุผลหรือแก้ตัวสำหรับอาชญากรรมของตนโดยใช้การทำให้เป็นกลาง เช่น การข่มขืน (Scully and Marolla, 1984), อาชญากรปกขาว (Benson, 1985 ) และอื่นๆ การศึกษายังระบุว่า ปัจเจกบุคคลแตกต่างกันในขอบเขตที่พวกเขายอมรับเทคนิคการแก้ตัว บุคคลที่ยอมรับเทคนิคการแก้ตัวมากขึ้นมักจะมีส่วนร่วมในอาชญากรรมมากขึ้น
Sykes และ Matza ได้แบ่งเทคนิคข้อแก้ตัว ออกเป็น 5 เทนนิค ดังนี้
1. Denial of Injury หรือ ปฏิเสธว่าไม่มีใครได้รับบาดเจ็บจากการกระทำของผู้กระทำความผิด แม้ว่าจะผิดกฎหมายหรือละเมิดกฎหมายก็ตาม ตัวอย่าง พ่อค้ายาเสพติดปฏิเสธว่า ลูกค้าที่ซื้อยาเป็นที่เต็มใจในซื้อยาเสพติด และผู้ค้ายาเพียงแค่จัดหาความต้องการเท่านั้น ภายใต้การปฏิเสธนี้ เด็กจะโต้แย้งว่าแม้การกระทำจะผิดกฎหมาย แต่ก็ไม่มีใครได้รับบาดเจ็บหรือได้รับบาดเจ็บจากการกระทำความผิดนั้น
2. Denial of responsibility หรือ ปฏิเสธว่าไม่ใช่ความรับผิดชอบของผู้กระทำผิด อาชญากรให้เหตุผลว่าพวกเขาตกเป็นเหยื่อของพฤติการณ์และไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากต้องก่ออาชญากรรม ผู้กระทำผิดอ้างว่าอาชญากรรมเป็นความรับผิดชอบของสิ่งกดดันภายนอก เช่น การกดดันจากเพื่อนฝูง หรือการกดขี่จากผู้ปกครอง
3. Denial of Victim ผู้กระทำความผิดเชื่อว่าผู้เสียหายสมควรได้รับการกระทำใด ๆ ที่ผู้กระทำความผิดได้กระทำ โดยอาจให้เหตุผลโดยบอกว่า เหยื่อเป็นคนเลว ขี้โกง สมควรได้รับการกระทำนั้น เป็นต้น
4. Condemnation of the condemners ผู้กระทำผิดโต้แย้งว่า เขาไม่ได้รับความยุติธรรมจากตำรวจและการควบคุมของรัฐ ตำรวจก็ทุจริต มีข้อบกพร่อง และไม่ยุติธรรม
เช่น กล่าวว่าเหยื่อมีเส้นสายกับตำรวจ ผู้กระทำผิดจึงไม่ได้รับความเป็นธรรม
5. Appeal to higher loyalty ผู้กระทำความผิดอ้างว่า ได้กระทำการเพื่อผลประโยชน์ของผู้อื่นหรือบนพื้นฐานของคำสั่งหรือแรงกดดันจากเพื่อน ไม่ใช่ตามความประสงค์ของเขาเอง ผู้กระทำผิดอาจมองว่าตนเองกำลังจมอยู่ในภาวะที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออกซึ่งต้องได้รับการแก้ไข
อย่างไรก็ตาม เทคนิคข้อแก้ตัว ไม่ได้เป็นหลักของทฤษฎีอาชญากรรมที่แท้จริง แต่เป็นการอธิบายถึงพฤติกรรมการหาเหตุผลเข้าข้างตนเองของผู้กระทำความผิดหลังจากที่ได้ก่ออาชญากรรม
References
1. Agnew, Robert. (1994). The Techniques of Neutralization and Violence. Criminology. 32, 555-580.
2. Benson, Michael L. 1985. “Denying the Guilty Mind: Accounting for Involvement in White-Collar Crime” Criminology 23: 583–608.
3. Coleman, James William (1987). Toward an Integrated Theory of White-collar Crime. American Journal of Sociology. 93(2). 406-439.
4. Matza, David and Sykes, Gresham. (1961). Juvenile Delinquency and Subterranean Values. American Sociological Review. 26(5). 712-719.
5. Matza, David (1964). Delinquency and Drift. New York: John Wiley and Sons, Inc.
6. Matza, David and Sykes, Gresham. (1958). Techniques of Neutralization: A theory of Delinquency. In: American Sociological Review, 22, 664-670.