Routine Activity Theory หรือ ทฤษฎีปกตินิสัย

ทฤษฎีปกตินิสัย (Routine Activity Theory) ถูกเสนอครั้งแรกโดย Marcus Felson และ Lawrence E. Cohen (1979) ในการอธิบายการเปลี่ยนแปลงของอัตราการเกิดอาชญากรรมในสหรัฐอเมริการะหว่างปี 1947 และ 1974 ทฤษฎีนี้ถูกนำไปใช้อย่างกว้างขวาง และกลายเป็นหนึ่งในทฤษฎีที่ถูกกล่าวถึงมากที่สุดในอาชญาวิทยา ทฤษฎีปกตินิสัยศึกษาความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดระหว่างอาชญากรรมกับสิ่งแวดล้อมและเน้นกระบวนการทางนิเวศวิทยา

การเปลี่ยนแปลงในสังคมสมัยใหม่ ผู้คนให้ความสำคัญกับกิจกรรมนอกบ้านมากขึ้น ตัวอย่างเช่น การมีส่วนร่วมของสตรีในกำลังแรงงาน และการเข้าถึงการศึกษาระดับอุดมศึกษา การเดินทางออกนอกเมือง หรือการย้ายถิ่นฐานถาวร กิจกรรมนอกบ้านเหล่านี้ ทิ้งบ้านให้ว่างเปล่าและไม่มีการป้องกันที่ดีส่งผลให้เกิดโอกาสในการก่ออาชญากรรม นอกจากนี้ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในช่วงเวลานี้ทำให้มีเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดเล็กในบ้านเพิ่มขึ้น (เช่น โทรทัศน์) สิ่งมีค่าเหล่านี้ทำให้บ้านน่าดึงดูดมากขึ้น และง่ายต่อการเคลื่อนย้าย

ทฤษฎีปกติวิสัย อธิบายเหตุการณ์อาชญากรรมผ่านองค์ประกอบสำคัญ 3 ประการ ที่บรรจบกันในโอกาสและเวลาในชีวิตประจำวัน
1. A Potential Offender ผู้ที่อาจกระทำความผิดซึ่งมีความสามารถในการก่ออาชญากรรม

2. A Suitable Target เป้าหมายหรือเหยื่อที่เหมาะสม

3. The absence of guardians capable การไม่มีผู้ปกครองที่สามารถปกป้องเป้าหมายและเหยื่อได้

องค์ประกอบที่หนึ่ง คือ ผู้กระทำความผิดอาจเป็นใครก็ได้ที่มีแรงจูงใจที่จะก่ออาชญากรรมและมีความสามารถที่จะทำเช่นนั้น Cohen และ Felson (1979) ใช้คำว่า “ผู้กระทำความผิดที่มีแรงจูงใจ” แต่ในงานต่อมาพวกเขาหลีกเลี่ยงคำว่า “แรงจูงใจ” เนื่องจากพวกเขาพบว่า สิ่งเกี่ยวข้องอย่างแท้จริงไม่ใช่พฤติกรรมหรือแรงจูงใจในการก่ออาชญากรรม แต่เป็นปัจจัยทางกายภาพที่ทำให้บุคคลสามารถมีส่วนร่วมในอาชญากรรมได้ แนวทางนี้มีส่วนทำให้เกิดการเบี่ยงเบนความสนใจจากตัวผู้กระทำความผิดเพื่อให้เข้าใจถึงอาชญากรรมมากขึ้น

องค์ประกอบที่สอง คือ เป้าหมายที่เหมาะสม บุคคลหรือทรัพย์สินที่อาจถูกคุกคามโดยผู้กระทำความผิด Felson เลือกใช้คำว่า “เป้าหมาย” มากกว่า “เหยื่อ” เนื่องจากในอดีต เคยให้ความสำคัญกับข้อเท็จจริงที่ว่า อาชญากรรมส่วนใหญ่มุ่งเป้าไปที่การได้มาซึ่งทรัพย์สิน ดังนั้น “เหยื่อ” ที่หมายถึงตัวบุคคลอาจจะไม่ได้อยู่ในที่เกิดเหตุ (Felson & Clarke, 1998) ความน่าจะเป็นที่เป้าหมายจะเหมาะสมมากหรือน้อยนั้นได้รับอิทธิพลจากคุณลักษณะ 4 ประการ อธิบายจากมุมมองของผู้กระทำความผิดโดยใช้ตัวย่อ VIVA (value, inertia, visibility, and access)

  • Value หมายถึง คุณค่าของเป้าหมายจากมุมมองของผู้กระทำความผิด
  • Inertia ความเฉื่อย หมายถึง ขนาด น้ำหนัก และรูปร่าง หรือลักษณะทางกายภาพของบุคคลหรือสิ่งของ ที่ทำหน้าที่เป็นอุปสรรคหรือขัดขวางผู้กระทำความผิด
  • Visibility การมองเห็น หรือการเปิดเผยของเป้าหมายต่อผู้กระทำความผิด
  • Access การเข้าถึง หมายถึง การเข้าถึงตำแหน่งของวัตถุที่เพิ่มความเสี่ยงของการก่ออาชญากรรม หรือทำให้ง่ายต่อการดำเนินการ

องค์ประกอบที่สาม คือ การขาดผู้ปกครองหรือผู้ดูแลที่มีความสามารถ หมายถึงใครบางคนที่สามารถแทรกแซงเพื่อหยุดหรือขัดขวางอาชญากรรม (Cohen & Felson, 1979) ผู้ปกครองที่สามารถป้องกันอาชญากรรมได้ คือ ผู้ที่ไม่ได้ก่ออาชญากรรม และผู้ที่ไม่ทำให้มีโอกาสเกิดอาชญากรรมมากขึ้น (Felson, 1995) จากเหตุการ์อาชญากรรมสังเกตได้ว่า ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลจะไม่อยู่เมื่อมีเหตุอาชญากรรมเกิดขึ้น (Felson & Boba, 2010) ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลอาจหมายถึง คือ ผู้ครอบครองบ้าน ญาติพี่น้อง เพื่อนฝูง หรือผู้สัญจรไปมา โดยทั่วไปแล้ว พวกเขาเหล่านี้สามารถปกป้องตนเอง ปกป้องผู้อื่น หรือปกป้องทรัพย์สินของตนเองหรือของผู้อื่นผ่านการปรากฏตัวได้

บนพื้นฐานขององค์ประกอบ 3 ประการที่นำเสนอโดย Cohen และ Felson (1979) ในข้างต้น ได้แก่ ผู้กระทำความผิด เป้าหมาย และผู้พิทักษ์ และผู้จัดการสถานที่ได้เพิ่มมาในภายหลัง โดย Eck (1994) ได้พัฒนาสิ่งที่เรียกว่า สามเหลี่ยมอาชญากรรมซึ่งแยกแยะองค์ประกอบที่จำเป็นสำหรับอาชญากรรมที่จะเกิดขึ้นจากองค์ประกอบที่เรียกว่า ผู้ควบคุม ที่มีศักยภาพที่จะป้องกันได้ อธิบายภาพรวม อธิบายได้ว่า ผู้กระทำความผิด เป้าหมาย และสถานที่ ซึ่งอยู่ในสามเหลี่ยมด้านใน ถูกควบคุมโดยผู้ควบคุม ซึ่งอยู่ในสามเหลี่ยมด้านนอก ซึ่งสามารถลดความน่าจะเป็นของเหตุการณ์อาชญากรรมโดยการควบคุมแต่ละองค์ประกอบทั้งสามนี้ ซึ่งอธิบายในเรื่องถัดไป

โดยสรุป ทฤษฏีปกตินิสัยมีหลักการพื้นฐานเกิดจากองค์ประกอบครบทั้งสามประการ คือ อาชญากรที่จากระทําผิด เหยื่อท่ีเหมาะสม และการขาดผู้ดูแลรักษาทรัพย์สิน โดย Cohen และ Felson ให้ความหมายของคำว่าปกติวิสัยว่าหมายถึง กิจวัตรประจำวันหรือการกระทำของบุคคลที่ทํากระทำเป็นประจํา เช่น การไม่มีคนเฝ้าบ้าน การใช้กระเป๋าหรือเครื่องประดับราคาแพง การเดินทางเส้นทางเดิม ซึ่งการเกิดอาชญากรรมมักจะเกิดจากกิจวัตรประจำวันของเหยื่อ ที่ส่งผลให้อาชญากรอาศัยโอกาสหรือช่องว่างเหล่านี้ในการตัดสินใจประกอบอาชญากรรม

อย่างไรก็ตาม ทฤษฎีปกตินิสัย ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์มากที่สุดในด้านความชอบธรรมทางศีลธรรม นักวิจัยหลายคนคัดค้านว่า การมุ่งเน้นที่กิจกรรมประจำวันซึ่งเป็นการตำหนิเหยื่อ และแสดงให้เห็นว่าขาดความสนใจอย่างสมบูรณ์ของศึกษาผู้กระทำความผิดโดยตรง ดังนั้นจึงลืมสาเหตุของปัญหาไป (Tilley, 2009) ในแง่นี้ ทฤษฎีแม้ว่าจะเริ่มต้นจากสมมติฐานของการมีอยู่ของ “ผู้กระทำความผิดที่มีแรงจูงใจ” แต่ทฤษฎีปกตินิสัยไม่ได้กำหนดความหมายของแรงจูงใจไว้อย่างชัดเจน ดังนั้น จึงไม่สามารถตอบคำถามที่ว่า “ใครคือผู้กระทำความผิดที่มีแรงจูงใจ” “แรงจูงใจมีคุณสมบัติอะไรบ้าง” และ “เหตุใดบุคคลบางคนจึงมีแรงจูงใจในการก่ออาชญากรรมมากกว่าคนอื่น” (Akers, 1997)

 


References

  1. Akers, R. (1998). Social learning and social structure: A general theory of crime and deviance. Boston: North- eastern University Press.
  2. Cohen, L., & Felson, M. (1979). Social change and crime rate trends: A routine activity approach. American Sociological Review44, 588–608.
  3. Cornish, D. B., & Clarke, R. V. (Eds.). (1986). The reasoning criminal: Rational choice perspectives on offending. New York: Springer.
  4. Eck, J. E. (1994). Drug markets and drug places: A case – control study of the spatial structure of illicit drug dealing. Unpublished doctoral dissertation. Univer- sity of Maryland, College Park, MD.
  5. Felson, M. (1995). Those who discourage crime. In J. E. Eck & D. Weisburd (Eds.), Crime prevention studiesVol4Crime and place (pp. 53 – 66). Monsey, NY: Criminal Justice Press.
  6. Felson, M., & Boba, R. (2010). Crime and everyday life (4th ed.). Thousand Oaks, CA: Sage.
  7. Felson, M., & Clarke, R. V. (1998). Opportunity makes the thief. Practical theory for crime prevention (Police Research Series, Paper 98). London: Home Office, Policing and Reducing Crime Unit.
  8. Felson, M., & Cohen, L. E. (1980). Human ecology and crime: A routine activity approach. Human Ecology8(4), 389–405.
  9. Hindelang, M. J. (1976). Criminal victimization in eight American cities: A descriptive analysis of common theft and assault. Cambridge, MA: Ballinger.
  10. Hollis-Peel, M. E., Reynald, D. M., van Bavel, M., Elffers, H., & Welsh, B. C. (2011). Guardianship for crime prevention: A critical review of the literature. Crime, Law and Social Change56(1), 53–70.
  11. Mayhew, P., Clarke, R., Sturman, A., and Hough, M. (1976). Crime as opportunity (Home Office Research Study 34). London.
  12. Miró, F. (2011). La oportunidad criminal en el ciberespacio. Aplicación y desarrollo de la teoría de las actividades cotidianas para la prevención del cibercrimen. Revista Electrónica de Ciencia Penal y Criminología, 13-07.
  13. Sherman, L. W., Gartin, P. R., & Buerger, M. E. (1989). Hot spots of predatory crime: Routine activities and the criminology of place. Criminology27, 27–56.
  14. Tewksbury, R., & Mustaine, E. E., (2001). Lifestyle factors associated with the sexual assault of men: A routine activity theory analysis. The Journal of Men’s Studies9(2), 153–182.
  15. Tilley, N. (2009). Crime prevention. Cullompton, UK: Willan.
Related Post
ARTICLE

ฆาตกรต่อเนื่อง (Serial Killer)

ฆาตกรต่อเนื่องมีพฤติกรรมการไล่ล่าไม่ต่างจากปลาฉลาม ปลาฉลามไม่ได้โจมตีเหยื่อโดยบังเอิญ แต่จะสะกดรอยตามเหยื่อที่ซ่อนตัวอยู่ ฉลามจะพักคอยสังเกต

Read More »
ARTICLE

Mass murder ที่เป็น Serial killer และมีรสนิยม “ฆ่ายกครัว” (Anatoly Onoprienko)

ประเทศไทยได้เริ่มรู้จัก Mass murder กันหลายคดีตั้งแต่ปี 63 ถึงปัจจุบัน นับแต่จ่าคลั่งโคราชถึงนายสิบตำรวจอุทัยสวรรค์ สิ่งที่สร้างความเสียใจให้ทุกคน

Read More »