ความจริงที่ว่าอาชญากรรมมีแนวโน้มที่จะกระจุกหรือเกิดขึ้นซ้ำๆ ในสถานที่บางแห่ง เป็นที่ยอมรับและสนับสนุนโดยกลุ่มวิจัยขนาดใหญ่ เริ่มต้นจากนักวิชาการชาวฝรั่งเศส André-Michel Guerry และ Adolphe Quetelet คนกลุ่มแรก ๆ ที่ “ทำแผนที่อาชญากรรม” และระบุความสัมพันธ์ระหว่างอัตราการเกิดอาชญากรรมและลักษณะเฉพาะของชุมชน
นอกจากนี้ นักวิจัยของ Chicago School รวมถึง Robert Burgess และ Clifford Shaw และ Henry McKay ได้ศึกษารูปแบบอาชญากรรม ซึ่งค้นพบความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางนิเวศวิทยา และความเข้มข้นของการกระทำผิดทางอาญา อย่างไรก็ตาม การศึกษาในช่วงแรกๆ เหล่านี้ได้เพิกเฉยต่อการรวบรวมสถานที่ที่มีอาชญากรรมสูงและอาชญากรรมต่ำ
นักสังคมศาสตร์ในทศวรรษ 1970 เริ่มพัฒนาทฤษฎีต่างๆ เพื่ออธิบายปรากฏการณ์นี้ ทฤษฎีเหล่านี้เป็นพื้นฐานของอาชญาวิทยาสิ่งแวดล้อม อาชญาวิทยาสิ่งแวดล้อมไม่ได้อธิบายเกี่ยวกับแนวโน้มที่จะก่ออาชญากรรมของแต่ละบุคคล แต่เน้นการระบุปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมที่สร้างโอกาสในการก่ออาชญากรรมเพื่อลดหรือขจัดโอกาสเหล่านี้
John E. Eck (1994) ได้พัฒนากระบวนทัศน์อาชญาวิทยาสิ่งแวดล้อม และประยุกต์ใช้ผ่านการสนับสนุนที่สำคัญ 3 ประการ
– ประการแรก เขาพัฒนาแนวคิดจากทฤษฎีปกติวิสัย (Routine Activity) ของ Lawrence Cohen และ Marcus Felson โดยการให้ความสำคัญกับผู้ที่จัดการสถานที่เป็นพิเศษ ส่วนขยายนี้นำไปสู่การพัฒนาของ ทฤษฎีสามเหลี่ยมอาชญากรรม (Crime Triangle)
– ประการที่สอง เขายังคงศึกษาเทคนิคการวิเคราะห์ใหม่ๆ เพื่อปรับปรุงกลยุทธ์การวิจัยและสร้างความคิดริเริ่มในการลดอาชญากรรม ตัวอย่างเช่น เขาได้แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการใช้ทฤษฎี เพื่อสร้างคู่มือช่วยในการตีความแผนที่อาชญากรรม
– ประการที่สาม เขาได้ช่วยลดปัญหาอาชญากรรม โดยเฉพาะการจัดทำคู่มือสำหรับผู้ปฏิบัติงานตำรวจ นักวิเคราะห์อาชญากรรม และนักวิจัย โดยสรุปหลักการพื้นฐานของอาชญาวิทยาสิ่งแวดล้อม และผลการวิจัยล่าสุดได้พัฒนาคู่มือการวิเคราะห์อาชญากรรมที่ได้รับการแปลเป็น 16 ภาษาและใช้กันทั่วโลก Eck ยังได้พัฒนารูปแบบ SARA (Scanning, Analysis, Response และ Assessment) ซึ่งช่วยให้ตำรวจมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาอาชญากรรม
Place Management
ทฤษฎีปกตินิสัย (Routine Activity Theory) เผยแพร่ในปี ค.ศ.1979 โดย Cohen และ Felson นำเสนอว่า อาชญากรรมเกิดจากของกิจกรรมประจำวันของผู้คน อาชญากรรมเกิดขึ้นเมื่อผู้กระทำผิดที่มีแรงจูงใจพบเป้าหมายที่เหมาะสมซึ่งไม่ได้รับการปกป้องโดยผู้ปกครองที่มีความสามารถ ในความพยายามที่จะเชื่อมโยงทฤษฎีนี้กับทฤษฎีการควบคุม (Social Control Theory) ของ Travis Hirschi, Felson ได้พัฒนาแนวคิดเรื่อง “ตัวจัดการ” ในเวลาต่อมา ตัวจัดการ คือ บุคคลที่สามารถมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของผู้กระทำความผิด บุคคลเหล่านี้อาจเป็นพ่อแม่ เพื่อน คู่สมรส ครู หรือเจ้าหน้าที่คุมประพฤติ ผู้พิทักษ์มีหน้าปกป้องเป้าหมายที่อาจเกิดขึ้นได้
Eck ขยายทฤษฎีปกตินิสัยเพิ่มเติม โดยเสนอเกี่ยวกับผู้ควบคุมอาชญากรรมประเภทที่สาม: ผู้จัดการสถานที่ ผู้จัดการ คือ ผู้ที่ควบคุมสถานที่เฉพาะ เช่น เจ้าของบ้าน คนขายของในบาร์ และครูในห้องเรียน ในการทำวิจัยโดย Eck และ Julie Wartell ในปี ค.ศ.1988 พบว่า ความพยายามในการปรับปรุงการจัดการอาคารอพาร์ตเมนต์ ช่วยเพิ่มการป้องกันผู้กระทำความผิดด้านยาเสพติด และพบว่าอาชญากรรมลดลงอย่างเห็นได้ชัด
The Crime Triangle
ทฤษฎีปกตินิสัย แนะนำว่า อาชญากรรมจะเกิดขึ้นเมื่อผู้กระทำผิดและเป้าหมายมาบรรจบกันในสถานที่ที่ผู้ควบคุมทั้งสาม ได้แก่ ผู้ปกครอง(Guardian), ผู้ดำเนินการ (Handler) และผู้จัดการ (Maneger) ไม่อยู่ในที่เกิดเหตุ หรือประมาทเลินเล่อ ทฤษฎีนี้มักถูกมองว่าเป็นรูปสามเหลี่ยมอาชญากรรม หรือที่เรียกว่าสามเหลี่ยมวิเคราะห์ปัญหา
ชั้นในของสามเหลี่ยม แสดงรายการองค์ประกอบ 3 อย่าง ที่ต้องมีเพื่อให้เกิดอาชญากรรม
สามเหลี่ยมด้านนอก แสดงถึงผู้ควบคุมที่อาจเข้าไปแทรกแซงในนามของแต่ละองค์ประกอบเพื่อหยุดอาชญากรรมไม่ให้เกิดขึ้น
สามเหลี่ยมวิเคราะห์ปัญหา ถูกใช้เพื่อเป็นแนวทางในการสืบสวนปัญหาอาชญากรรมและระบุแนวทางแก้ไขที่เป็นไปได้ การวิเคราะห์โดยอิงจากรูปสามเหลี่ยมวิเคราะห์ปัญหากระตุ้นให้นักวิจัยศึกษาลักษณะขององค์ประกอบทั้งสามและตัวควบคุมสามตัวที่เกี่ยวข้องกับปัญหาอาชญากรรม
การมีส่วนร่วมของ Eck ต่อทฤษฎีปกตินิสัย และสามเหลี่ยมวิเคราะห์ปัญหาได้สนับสนุนให้ตำรวจทำงานร่วมกับเจ้าของทรัพย์สินและธุรกิจเพื่อลดปัญหาอาชญากรรมในชุมชน การวิจัยชี้ให้เห็นว่า การลดอาชญากรรมอย่างมีนัยสำคัญสามารถทำได้ผ่านการร่วมมือกับผู้จัดการสถานที่
กล่าวโดยสรุป
Eck มีส่วนสนับสนุนอย่างมากต่อกระบวนอาชญาวิทยาสิ่งแวดล้อมผ่านการวิจัยตามสถานที่ของเขา การวิจัยแนวทางการจัดการสถานที่ได้ขยายความรู้ และความเข้าใจของเราเกี่ยวกับกลยุทธ์การก่ออาชญากรรมที่มีประสิทธิภาพ การศึกษาดังกล่าวได้ช่วยให้นักวิจัยระบุกลไกที่อาชญากรรมเกิดขึ้นได้
สามเหลี่ยมวิเคราะห์ปัญหา ซึ่งได้มาจากการขยายการจัดการสถานที่ของทฤษฎีปกตินิสัย มักใช้เพื่อตรวจสอบปัญหาอาชญากรรม เพื่อลดอาชญากรรม นักวิจัยและผู้ปฏิบัติงานจำนวนมากมีแนวโน้มที่จะเห็นด้วยกับการยืนยันว่า “สถานที่ควรเป็นองค์ประกอบหลักในทฤษฎีอาชญากรรมและการป้องกันอาชญากรรม” (Eck & Weisburd, 1995) ดังนั้น การวิจัยการจัดการสถานที่จะยังคงให้ข้อมูลเชิงลึกที่สำคัญสำหรับทั้งนักทฤษฎีและผู้ปฏิบัติงานด้านอาชญาวิทยาสิ่งแวดล้อม
References
- Buerger, M. E. (1998). The politics of third-party policing . In L. G. Mazerolle, ed. , & J. Roehl (Eds.), Civil remedies and crime prevention: Crime prevention studies (Vol. 9, pp. 89–116). Monsey, NY: Criminal Justice Press.
- Burgess, E. W. (1925). The growth of the city . In R. E. Park, ed. , E. W. Burgess, ed. , & R. D. MacKenzie (Eds.), The city (pp. 37–44). Chicago: University of Chicago Press.
- Chamard, S. (2006). Partnering with businesses to address public safety problems (Problem-Solving Tools Series No. 5). Washington, DC: Office of Community Oriented Policing Services, U.S. Department of Justice.
- Clarke, R. V., & Eck, J. E. (2005). Crime analysis for problem solvers in 60 small steps . Washington, DC: Office of Community Oriented Policing Services, U.S. Department of Justice.
- Cohen, L. E., and Felson, M. Social change and crime rate trends: A routine activity approach . American Sociological Review 44 588–605. (1979). http:// dx.doi.org/10.2307/2094589
- Cullen, F., Eck, J., and Lowenkamp, C. Environmental corrections: A new paradigm for effective supervision . Federal Probation 66 (2) 28–37. (2002).
- Eck, J. E., & Wartell, J. (1998). Improving the management of rental properties with drug problems: A randomized experiment . In L. G. Mazerolle, ed. , & J. Roehl (Eds.), Civil remedies and crime prevention: Crime prevention studies (Vol. 9, pp. 161–185). Monsey, NY: Criminal Justice Press.
- Eck, J. E., ed. , & Weisburd, D. (Eds.). (1995). Crime and place: Crime prevention studies (Vol. 4). Monsey, NY: Criminal Justice Press.
- Guerry, A. (1833). Essai sur la statistique morale de la France [Essay on the moral statistics of France] . Paris: Crochard
- Hirschi, T. (1969). Causes of delinquency . Berkeley: University of California Press.
- Hoke, S. A. (2008, July). Effective place management in institutional settings . Presentation at the International Seminar on Environmental Criminology and Crime Analysis (ECCA) 17th International Symposium, Anchorage, AK.
- Madensen, T. D., and Eck, J. E. Violence in bars: Exploring the impact of place manager decision making . Crime Prevention and Community Safety 10 111–125. (2008).
- Scott, M. S., & Goldstein, H. (2005). Shifting and sharing responsibility for public safety problems (Response Guide Series No. 3). Washington, DC: Office of Community Oriented Policing Services, U.S. Department of Justice.
- Shaw, C. R., & McKay, H. D. (1942). Juvenile delinquency and urban areas . Chicago: University of Chicago Press.
- Wortley, R., ed. , & Mazerolle, L. (Eds.). (2008). Environmental criminology and crime analysis . Portland, OR: Willan.