Marxist Theory of Crime

Marxism เป็นทฤษฎีโครงสร้างความขัดแย้งในสังคมวิทยา ริเริ่มแนวคิดโดย Karl Marx and Friederich Engels (1848) กล่าวถึงโครงสร้างในสังคมที่ใช้แนวทาง top-down หรือ จากบนลงล่าง โดยพิจารณาการทำงานในแง่ของความสัมพันธ์เชิงสถาบันซึ่งกำหนดพฤติกรรมของมนุษย์ Marxism เชื่อว่าความขัดแย้งทางชนชั้นเป็นแก่นแท้ของทุกสังคม ความขัดแย้งนี้เกิดขึ้นระหว่างผู้มีอำนาจและผู้ไร้อำนาจ ซึ่งเกิดตามธรรมชาติของระบบทุนนิยม การควบคุมทางสังคมดำเนินการโดยชนชั้นนายทุน (ชนชั้นปกครอง) กับชนชั้นกรรมาชีพ (ชนชั้นกรรมกร) โดยอิงตามการกำหนดระดับทางเศรษฐกิจ (economic determinism) 

Economic determinism หมายถึง แนวคิดที่ว่าความสัมพันธ์ที่สำคัญที่สุดของสังคมคือสิ่งที่อยู่บนพื้นฐานของปัจจัยทางเศรษฐกิจ (เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง) กล่าวคือ ความสัมพันธ์อื่นๆ ทั้งหมด เช่น ความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมหรือการเมือง ล้วนถูกกำหนดโดยรูปแบบของความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ

Karl Marx and Friederich Engels (wikimedia commons)

Marxism เชื่อว่าระบบเศรษฐกิจทุนนิยม คือ อาชญากร หรือ เป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดพฤติกรรมเบี่ยงเบนในสังคม (criminogenic)

การเกิดขึ้นของอาชญากรรมและพฤติกรรมเบี่ยงเบนถูกอธิบายโดย Marxism ว่าเป็นผลมาจากธรรมชาติของระบบทุนนิยม ลักษณะสำคัญคือการเพิ่มผลกำไรสูงสุดผ่านการเป็นเจ้าของกิจการส่วนตัวเหนือวิธีการผลิต Marxism ให้เหตุผลว่าระบบทุนนิยมส่งเสริมการแข่งขัน ความโลภ และการเอารัดเอาเปรียบโดยมีเป้าหมายเพื่อความสำเร็จส่วนบุคคล การพยายามครอบครองทางวัตถุทำให้เกิดแรงกดดันให้ผู้คนทำทุกวิถีทางเพื่อให้บรรลุเป้าหมายนี้แม้ว่าจะการกระทำจะฝ่าฝืนกฎหมายก็ตาม Marxism ตั้งข้อสังเกตว่าความกดดันในการบรรลุความมั่งคั่งส่งผลกระทบต่อสมาชิกทุกคนในสังคม Marxism เสนอว่าแรงกดดันในการบรรลุความมั่งคั่งส่งผลกระทบต่อสมาชิกทุกคนในสังคมไม่ว่าจะมาจากความยากจนหรือความมั่งคั่งก็ตาม เนื่องจากคุณค่าที่ติดอยู่กับผลประโยชน์ทางการเงิน การละเมิดกฎหมายจึงถูกมองว่าเป็นวิธีที่ถูกต้อง (หรือสมเหตุสมผล) แม้แต่อาชญากรรมที่ไม่มีผลประโยชน์ก็สามารถหาเหตุผลเข้าข้างตนเองได้ อันเป็นผลมาจากความผิดหวังที่เกิดจากแรงกดดันของทุนนิยม

แม้ว่าการโจรกรรม การลักขโมย จะเป็นอาชญากรรมทั่วไปที่มีเป้าหมายเพื่อผลประโยชน์ทางการเงินแต่อาชญากรรมที่คนรวยก่อขึ้นก็มีผลลัพธ์ด้านผลประโยชน์ทางการเงินที่คล้ายคลึงกัน เช่น การเลี่ยงภาษี การโจรกรรมทางปัญญา การลักลอบขนยาเสพติด การติดสินบนและการฟอกเงิน เป็นต้น

กฎหมายมีไว้เพื่อคนรวย

Marxism โต้แย้งว่ากฎหมายได้รับการออกแบบมาเพื่อประโยชน์ของชนชั้นนายทุน เนื่องจากผลประโยชน์ของมันสะท้อนและปกป้องโดยหน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กฎหมายของสังคมมีแนวโน้มที่จะส่งเสริมการค้า การเติบโตของอุตสาหกรรม และความเป็นเจ้าของส่วนตัว นักทฤษฎีหลายคนได้เสนอ ดังนี้

 William Chambliss (1976) กล่าวว่า “การมีอยู่ของกฎหมายที่ปกป้องชนชั้นปกครองนั้นค่อนข้างคลุมเครือในประเทศที่พัฒนาแล้วมากกว่าในประเทศโลกที่สาม ตัวอย่างเช่น กฎหมายที่ปกป้องสหภาพแรงงานมีการดำเนินการอย่างหละหลวม มากกว่ากฎหมายที่ควบคุมสิทธิ์การเป็นเจ้าของทรัพย์สิน กล่าวคือ กฎหมายการเป็นเจ้าของทรัพย์สินได้รับการจัดตั้งขึ้นครั้งแรกโดยรัฐ เพื่อให้ความมั่งคั่งยังคงอยู่ในครอบครัวท่ามกลางชนชั้นปกครอง”

ในทางกลับกัน Laureen Snider (1993) เสนอว่า กฎหมายที่จัดตั้งขึ้นเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของชนชั้นแรงงานหรือชั้นกรรมาชีพ เป็นเพียงม่านควันที่ออกแบบมาเพื่อปิดบังการแสวงประโยชน์ของชนชั้นนายทุน (ชนชั้นปกครอง) ตัวอย่างของกฎหมายที่สะท้อนผลประโยชน์ของชนชั้นแรงงาน หรือ ชนชั้นกรรมาชีพ ได้แก่ ค่าแรงขั้นต่ำ ความปลอดภัยในสถานที่ทำงาน และกฎระเบียบต่อต้านการผูกขาด

นอกเหนือจากกฎหมายที่ปกป้องชนชั้นกรรมกรแล้ว Snider (1993) ยังกล่าวอีกว่ายังมีการขาดกฎหมายที่ควบคุมกิจกรรมของชนชั้นปกครองอย่างมีนัยสำคัญ ทั้งนี้เป็นเพราะรัฐยืนหยัดเพื่อผลกำไรจากบริษัทขนาดใหญ่อันเนื่องมาจากการลงทุนที่ที่ได้รับรายได้มหาศาล รัฐไม่เพียงแต่ต้องการปกป้องผลกำไรของนายทุนเท่านั้น แต่ยังต้องการอยู่ร่วมกับบริษัทต่างๆ ต่อไปเพื่อให้การทำกำไรของพวกเขาคงอยู่ต่อไป

Marxism กล่าวว่า รัฐไม่เพียงแต่สร้างกฎหมายขึ้นเพื่อชนชั้นปกครองเท่านั้น พวกเขายังบังคับใช้อย่างเข้มงวดในหมู่คนจน อาชญากรรมในองค์กรมีแนวโน้มที่จะได้รับการปฏิบัติอย่างสุภาพ ในขณะที่อาชญากรรมทางการเงินที่กระทำโดยคนยากจนมักถูกบังคับใช้โดยหน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย สิ่งนี้เรียกว่าการบังคับใช้แบบคัดเลือก (selective enforcement)

ยกตัวอย่างเช่น เหตุการณ์ Panama Papers ในปี 2016 กล่าวโดยสรุปคือ คนร่ำรวยจำนวนมาก เช่น นักการเมือง คนดัง และนักธุรกิจต่างเก็บเงินไว้ในบัญชีต่างประเทศ แม้ว่าสิ่งนี้จะไม่ผิดกฎหมายแต่พวกข้ากระทำด้วยเหตุผลที่ผิดกฎหมาย เช่น การหลบเลี่ยงภาษี ส่วนกฎหมายที่เรียกร้องให้มีการจดทะเบียนบริษัทที่มีลักษณะกิจการคลุมเครือให้โปร่งใสมากขึ้นนั้น มีการพิจารณายกร่างค่อนข้างช้ามาก

แนวคิดของ Marxism มีอิทธิพลต่อมุมมองในการวิเคราะห์อาชญากรรมเกิดขึ้นหลายทฤษฎี เช่น  

Neo-Marxism 

Neo-Marxism เป็นแนวคิดล่าสุดของทฤษฎี Marxist แบบดั้งเดิม ซึ่งนำการวิพากษ์วิจารณ์ทฤษฎีดั้งเดิมมาพิจารณา Neo-Marxists เชื่อว่าปัจจัยทางวัฒนธรรมมีส่วนเกี่ยวข้องอย่างมากในการกำหนดพฤติกรรมของมนุษย์มากกว่าที่ Marxists ดั้งเดิมยอมรับ ซึ่งเน้นย้ำถึงความสำคัญของความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียว

Radical criminology 

Radical criminology ใช้การประเมินทั้งในระดับจุลภาคและระดับมหภาค โดยเน้นถึงความสำคัญของการศึกษา การจัดการระดับรัฐของสังคมทุนนิยมที่ก่ออาชญากรรม ตลอดจนปฏิสัมพันธ์ระดับล่างระหว่างตำรวจและพวกนอกรีต ผู้สนับสนุนอาชญาวิทยาที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ได้แก่ Taylor, Walton and Young (1973) “ทฤษฎีทางสังคมที่สมบูรณ์ของการเบี่ยงเบน (fully social theory of deviance)” ในขณะเดียวกันพวกเขาเห็นด้วยว่า ทุนนิยมสร้างสภาพแวดล้อมที่สนับสนุนและก่ออาชญากรรมได้ง่าย เหตุผลหลักของ Radical criminology คือ อาชญากรชนชั้นแรงงานไม่ได้ถูกบังคับให้ก่ออาชญากรรมเนื่องจากสถานภาพทางการเงิน แต่พวกเขาเลือกที่จะทำเช่นนั้น

Bonger’s Marxist theory of crime

Willem Bonger (1916) เป็นหนึ่งในนักอาชญาวิทยากลุ่มแรกที่ใช้ทฤษฎีอาชญากรรมของมาร์กซ์ในการศึกษา Bonger กล่าวว่าสังคมทุนนิยมนำมาซึ่ง “ความเห็นแก่ตัว” ในผู้คน ความเห็นแก่ตัวนี้เป็นสาเหตุทางอ้อมของการกระทำผิดทางอาญา เขาโต้แย้งว่าสภาพแวดล้อมที่ระบบทุนนิยมสร้างขึ้นนั้นทำให้ผู้คนมีความเห็นแก่ตัวมากขึ้นผู้คนจึงสามารถก่ออาชญากรรมได้มากขึ้น เนื่องจากการมุ่งความสนใจไปที่ปัจเจกนิยมของระบบทุนนิยม เนื่องจากความผูกพันทางสังคมที่ผูกมัดผู้คนเข้าด้วยกันอ่อนแอลงและสมาชิกของสังคมมุ่งหวังผลประโยชน์ส่วนตนล้วนๆ

Feminist sociologists on Marxist theories of crime

สตรีนิยม Marxists เป็นทฤษฎีที่เสนอว่า ความไม่เท่าเทียมกันทางเพศเกิดจากความไม่เท่าเทียมกันทางเศรษฐกิจ ระบบทุนนิยมให้บริบทที่ผู้หญิงสามารถถูกเอารัดเอาเปรียบโดยผู้ชายในตลาดและผู้ที่ได้รับตำแหน่งในสังคมมักจะเป็นผู้ชาย นักสตรีนิยม Marxists เชื่อว่าสาเหตุของอาชญากรรมคือการเอารัดเอาเปรียบและกดขี่กลุ่มประชากรสตรี เช่น การล่วงละเมิดทางเพศและการล่วงละเมิดในครอบครัวที่กระทำโดยชนชั้นปกครองมักจะไม่ได้รับโทษ สังคมที่ปฏิรูปจึงต้องมีพันธะทางกฎหมายต่อเหยื่อที่เป็นสตรีทั้งภายในและภายนอกสถานที่ทำงาน


Reference

Marxist Theories of Crime. Available from: https://www.studysmarter.us/explanations/social-studies/crime-and-deviance/marxist-theories-of-crime/ [1 Oct, 2022]

Related Post
ARTICLE

ฆาตกรต่อเนื่อง (Serial Killer)

ฆาตกรต่อเนื่องมีพฤติกรรมการไล่ล่าไม่ต่างจากปลาฉลาม ปลาฉลามไม่ได้โจมตีเหยื่อโดยบังเอิญ แต่จะสะกดรอยตามเหยื่อที่ซ่อนตัวอยู่ ฉลามจะพักคอยสังเกต

Read More »
ARTICLE

Mass murder ที่เป็น Serial killer และมีรสนิยม “ฆ่ายกครัว” (Anatoly Onoprienko)

ประเทศไทยได้เริ่มรู้จัก Mass murder กันหลายคดีตั้งแต่ปี 63 ถึงปัจจุบัน นับแต่จ่าคลั่งโคราชถึงนายสิบตำรวจอุทัยสวรรค์ สิ่งที่สร้างความเสียใจให้ทุกคน

Read More »