ทฤษฎีการตีตราเน้นว่า ความคิดเห็นของผู้อื่นมีอิทธิพลต่อวิธีที่เราคิดต่อตนเองอย่างไร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทฤษฎีการตีตราบอกว่า เมื่อคนอื่นมองว่าเราเป็นอาชญากร เราจะเปลี่ยนแนวความคิดในตนเองเพื่อให้เข้ากับสิ่งที่คนอื่นคิดเกี่ยวกับเรา และหากพวกเขาตีตราว่าเราเป็นผู้ร้าย เราก็จะดำเนินการตามการตีตรานั้นในที่สุด กล่าวอีกนัยหนึ่งเราจะกลายเป็นผู้กระทำความผิดเพราะคนอื่นบอกว่าเราเป็นผู้กระทำความผิด
แนวคิดเรื่องทฤษฎีการตีตรา เฟื่องฟูในสังคมวิทยาอเมริกันในช่วงทศวรรษ 1960 แนวคิดหลักสามารถสืบย้อนไปถึงงานของ Emile Durkheim, George Herbert Mead, Frank Tannenbaum, Edwin Lemert, Albert Memmi, Erving Goffman และ David Matza ซึ่งมีบทบาทในการพัฒนาและวิจัยทฤษฎีการตีตราเช่นกัน
Edwin Lamert
Lemert ได้ตีพิมพ์หนังสือ Social Pathology ในปี ค.ศ.1951 ต่อมาได้พัฒนาแนวคิดเรื่อง secondary deviance และได้พัฒนามุมมองนี้ต่อไปในหนังสือเรื่อง Human deviance, Social problems, และ Social control ซึ่งตีพิมพ์ในปี ค.ศ.1967
Primary Deviance
Primary Deviance หรือ ความเบี่ยงเบนปฐมภูมิ เกิดจากสาเหตุทางสังคมวัฒนธรรมและจิตวิทยาต่างๆ กล่าวอีกนัยหนึ่ง คำว่าการเบี่ยงเบนปฐมภูมิ หมายถึงพฤติกรรมเบี่ยงเบนที่เกิดขึ้นจากสาเหตุที่มาจากตัวผู้กระทำความผิด แม้ว่าความเบี่ยงเบนปฐมภูมิจะรับรู้ได้ว่าเป็นสิ่งที่ไม่พึงปรารถนา แต่ก็ไม่มีผลกระทบต่อสถานะและภาพลักษณ์ของตนเองของผู้เบี่ยงเบนอีกต่อไป คนเบี่ยงเบนไม่ได้กำหนดตัวเองด้วยความเบี่ยงเบน แต่หาเหตุผลเข้าข้างตนเองและทำให้เป็นเรื่องเล็กน้อย ดังนั้นจึงสามารถรักษาภาพพจน์ของตนเองในเชิงบวกได้ ซึ่งสอดคล้องกับบทบาทของตนเองในสังคม
Deviance as a Label By Howard Becker
แนวคิดพื้นฐานประการหนึ่งที่อยู่เบื้องหลังทฤษฎีการตีตรา คือ ไม่มีการกระทำหรือพฤติกรรมใดในที่ถือเป็นความผิดทางอาญา แต่ปฏิกิริยาทางสังคมต่อพฤติกรรมและกฎหมายเป็นสิ่งที่ทำให้พฤติกรรมนั้นเป็นความผิด กล่าวคือ เป็นวิธีที่สังคมจำแนกพฤติกรรมว่าเป็นอาชญากรรมหรือไม่ ดังนั้น ถ้าสังคมบอกว่าพฤติกรรมบางอย่างเป็นอาชญากรรม มันก็จะกลายเป็นอาชญากรรม
นักทฤษฎีการตีตรา ให้เหตุผลว่า ฝ่ายที่มีอำนาจในสังคมเป็นผู้กำหนดว่าพฤติกรรมใดเป็นพฤติกรรมเบี่ยงเบน โดยเฉพาะอย่างยิ่งชนชั้นสูงและชนชั้นกลาง พวกเขาเป็นคนสร้างกฎเกณฑ์ เพราะชนชั้นสูงและชนชั้นกลางต้องการได้รับประโยชน์จากกฎหมาย และจากระบบยุติธรรมทางอาญา (เช่น ตำรวจ ศาล) Howard Becker กล่าวว่า ผู้มีอำนาจในสังคมจะกำหนดสิ่งที่เป็นอาชญากรรมและสิ่งที่ไม่ใช่อาชญากรรม