Differential Association Theory ทฤษฎีการคบหาสมาคมที่แตกต่าง

ทฤษฎีการคบหาสมาคมที่แตกต่าง นำเสนอว่า ผู้คนเรียนรู้ค่านิยม ทัศนคติ เทคนิค และแรงจูงใจสำหรับพฤติกรรมการเป็นอาชญากรผ่านการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น นับทฤษฎีการเรียนรู้เกี่ยวกับการเบี่ยงเบนซึ่งนำเสนอครั้งแรกโดยนักสังคมวิทยา Edwin Sutherland ในปี 1939 และแก้ไขในปี 1947 ทฤษฎีนี้ยังคงมีความสำคัญอย่างมากต่อสาขาอาชญวิทยาตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

ทฤษฎีของ Sutherland ได้อธิบายรูปแบบของข้อเสนอ 9 ประการ  โดยให้เหตุผลว่าพฤติกรรมของอาชญากรนั้น เรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับคนที่สนิทสนม  อาชญากรเรียนรู้ทั้งเทคนิคการก่ออาชญากรรม และสิ่งที่เอื้ออำนวยต่ออาชญากรรมจากคนเหล่านี้  ข้อเสนอที่ 6 ซึ่งเป็นหัวใจของทฤษฎีนี้ กล่าวว่า “บุคคลกลายเป็นผู้กระทำผิดเพราะการตีความที่เห็นด้วยต่อการก่ออาชญากรรมที่มากเกินไปซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการละเมิดกฎหมาย”  

หลักการสำคัญ มี 9 ประการ ในทฤษฎีการคบหาสมาคมที่แตกต่าง

1. พฤติกรรมอาชญากรเกิดจากการเรียนรู้  หมายความว่า พฤติกรรมอาชญากรไม่ได้สืบทอดทางบรรพบุรุษ 

2. พฤติกรรมของการเป็นอาชญากร เรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่นผ่านกระบวนการสื่อสาร 

3. ส่วนสำคัญของการเรียนรู้พฤติกรรมอาชญากรเกิดขึ้นภายในกลุ่มบุคคลใกล้ชิดสนิทสนม  รวมถึงการสื่อสารที่ไม่มีตัวตน เช่น ภาพยนตร์และสื่อต่างๆ

4. การเรียนรู้พฤติกรรมอาชญากร การเรียนรู้รวมถึงเทคนิคการก่ออาชญากรรม ตอดจนแรงจูงใจ แรงผลักดัน การหาเหตุผลเข้าข้างตนเอง และทัศนคติในการก่อการอาชญ  

5. เรียนรู้ทิศทางของแรงจูงใจและแรงผลักดันจากการตีความของประมวลกฎหมายว่าเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับกฎหมาย ในบางสังคม ปัจเจกบุคคลรายล้อมไปด้วยบุคคลที่กำหนดประมวลกฎหมายเคร่งครัดเป็นกฎเกณฑ์ที่ต้องปฏิบัติตาม ในขณะที่ในสังคมอื่นๆ อาจรายล้อมไปด้วยบุคคลที่มีการตีความกฎหมายเอื้อต่อการละเมิดประมวลกฎหมาย   

6. บุคคลกลายเป็นผู้กระทำผิดเนื่องจากมีการตีความที่เห็นด้วยกับการละเมิดกฎหมายมากกว่าการตีความที่ไม่เห็นด้วยกับการละเมิดกฎหมาย

7. การเชื่อมโยงที่แตกต่างกันอาจแตกต่างกันไปตามความถี่ ระยะเวลา ลำดับความสำคัญ และความรุนแรง  ซึ่งหมายความว่าความสัมพันธ์กับพฤติกรรมอาชญากร และความสัมพันธ์กับพฤติกรรมต่อต้านอาชญากรนั้นแตกต่างกันไป 

8. กระบวนการเรียนรู้พฤติกรรมอาชญากร เกี่ยวข้องกับกลไกทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้อื่นๆ  หมายความว่า การเรียนรู้พฤติกรรมการเป็นอาชญากรไม่ได้จำกัดอยู่เพียงกระบวนการเลียนแบบ  ตัวอย่างเช่น บุคคลที่ถูกล่อลวง

9. แม้ว่าพฤติกรรมทางอาญาจะเป็นการแสดงออกถึงความต้องการและค่านิยมทั่วไป แต่ก็ไม่ได้อธิบายโดยความต้องการและค่านิยมทั่วไปเหล่านั้น เนื่องจากพฤติกรรมที่มิใช่อาชญากรเป็นการแสดงออกถึงความต้องการและค่านิยมเดียวกัน  โจรมักจะขโมยเพื่อเงิน แต่คนทำงานที่ซื่อสัตย์ก็ทำงานเพื่อเงินเช่นกัน 

โดยสรุป พฤติกรรมของอาชญากร เรียนรู้โดย การติดต่ออย่างใกล้ชิดภายในกลุ่ม และความประพฤติที่แสดงออกในลักษณะอาชญากร จะขึ้นอยู่กับ ความแตกต่างของระยะเวลา ความสม่ำเสมอในการติดต่อกับกลุ่มที่มีพฤติกรรมเบี่ยงเบน

Empirical Study

ทฤษฎีการคบสมาคมที่แตกต่างของการกระทำผิด ได้รับการสนับสนุนโดยการศึกษาของเคมบริดจ์ในการพัฒนาโดย Farrington และคณะ (2006) การศึกษานี้เป็นการศึกษาระยะยาวเกี่ยวกับพัฒนาการของพฤติกรรมเบี่ยงเบน และต่อต้านสังคมในผู้ชาย 411 คน การศึกษาเริ่มต้นเมื่ออายุได้ 8 ขวบ ในปี ค.ศ.1961 ในช่วงเริ่มต้นของการศึกษา พวกเขาทั้งหมดอาศัยอยู่ในเขตเมืองชั้นในของชนชั้นแรงงานที่ขาดแคลนในลอนดอนใต้

ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่สุดในวัยเด็กที่อายุ 8-10 ปี ที่ส่งผลต่อการมีพฤติกรรมอาชญากร ได้แก่ ความผิดทางอาญาในครอบครัว ความกล้าหาญหรือการเสี่ยงภัย การเรียนในระดับต่ำ ความยากจน และครอบครัวแตกแยก ทฤษฎีนี้คาดการณ์ว่าผู้กระทำความผิดจะมาจากครอบครัวและกลุ่มที่มีบรรทัดฐานเกี่ยวกับความผิดทางอาญา และกิจกรรมทางอาญาที่พวกเขาเกี่ยวข้องนั้นคล้ายคลึงกับกิจกรรมที่พวกเขาได้เรียนรู้

กรณีนี้แสดงให้เห็นโดย Osborne and West (1982) พบว่า เด็กที่เติบโตในครอบครัวอาชญากร มีพฤติกรรมการกระทำผิดสูงมากถึง 40% ในขณะที่มีเพียง 13% ไม่ได้มาจากครอบครัวอาชญากร

นอกจากนี้ยังได้รับการสนับสนุนโดย Cambridge Study ในการพัฒนาพฤติกรรมการเป็นอาชญากร ดังนั้น การศึกษารูปแบบนี้สามารถอธิบายได้ว่า ปัจจัยเรื่องครอบครัว มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมทางอาญา


References

  1. Cressey, Donald R. (1960). “The Theory of Differential Association: An Introduction.” Social Problems, 8(1), pp. 2-6. 
  2. “Differential Association Theory.” LibreTexts: Social Science, 23 May, 2019. 
  3. “Edwin Sutherland’s Differential Association Theory Explained.” Health Research Funding
  4. Matsueda, Ross L. (2010). “Sutherland, Edwin H.: Differential Association Theory and Differential Social Organization.” Encyclopedia of Criminological Theory, edited by Francis T. Cullen and Pamela Wilcox. Sage Publications, pp. 899-907. 
  5. Matsueda, Ross L. (1988). “The Current State of Differential Association Theory.” Crime & Delinquency, 34(3) pp. 277-306.
  6. Ward, Jeffrey T. and Chelsea N. Brown. (2015). “Social Learning Theory and Crime.” International Encyclopedia of the Social & Behavioral Sciences. 2nd ed., edited by James D. Wright. Elsevier, pp. 409-414. 
Related Post
ARTICLE

ฆาตกรต่อเนื่อง (Serial Killer)

ฆาตกรต่อเนื่องมีพฤติกรรมการไล่ล่าไม่ต่างจากปลาฉลาม ปลาฉลามไม่ได้โจมตีเหยื่อโดยบังเอิญ แต่จะสะกดรอยตามเหยื่อที่ซ่อนตัวอยู่ ฉลามจะพักคอยสังเกต

Read More »
ARTICLE

Mass murder ที่เป็น Serial killer และมีรสนิยม “ฆ่ายกครัว” (Anatoly Onoprienko)

ประเทศไทยได้เริ่มรู้จัก Mass murder กันหลายคดีตั้งแต่ปี 63 ถึงปัจจุบัน นับแต่จ่าคลั่งโคราชถึงนายสิบตำรวจอุทัยสวรรค์ สิ่งที่สร้างความเสียใจให้ทุกคน

Read More »