Deterrence Theory หรือ ทฤษฎีการป้องกันหรือการข่มขู่ยับยั้ง

Deterrence หรือ การยับยั้งข่มขู่ เป็นแนวคิดหรือทฤษฎีที่ว่าการยับยั้งข่มขู่ของการลงโทษจะขัดขวางผู้คนจากการก่ออาชญากรรมและลดโอกาส หรือระดับของการกระทำผิดในสังคม

ทฤษฎีการป้องกันหรือการข่มขู่ยับยั้งความผิดทางอาญามีความเป็นไปได้ 2 ประการ: ประการแรก คือ การลงโทษที่กำหนดให้กับผู้กระทำความผิดแต่ละรายจะขัดขวางหรือป้องกันผู้กระทำความผิดรายนั้นจากการกระทำผิดซ้ำ ประการที่สองคือ ความรู้ของสาธารณชนว่าการกระทำความผิดบางอย่างจะได้รับการลงโทษ มีผลการยับยั้งโดยทั่วไปซึ่งป้องกันไม่ให้ผู้อื่นก่ออาชญากรรม

ทฤษฎีการป้องกันหรือการข่มขู่ยับยั้ง (Deterrence Theory) แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ การข่มขู่ยับยั้งโดยเฉพาะ (Specific Deterrence) และการข่มขู่ยับยั้งโดยทั่วไป (General Deterrence)

1. การข่มขู่ยับยั้งแบบทั่วไป (General Deterrence) ได้รับการออกแบบมาเพื่อป้องกันอาชญากรรมในประชากรทั่วไป ดังนั้น การลงโทษผู้กระทำความผิดของรัฐจึงเป็นตัวอย่างสำหรับคนอื่น ๆ ทั่วไปที่ยังไม่ได้มีส่วนร่วมในการกระทำผิดทางอาญา ซึ่งมีขึ้นเพื่อให้พวกเขาตระหนักถึงความน่าสะพรึงกลัวของการลงโทษเพื่อป้องกันพวกเขาจากการก่ออาชญากรรม ตัวอย่าง ได้แก่ การใช้โทษประหารชีวิตและการใช้โทษทางร่างกาย

เนื่องจากการข่มขู่ยับยั้งทั่วไปได้รับการออกแบบมาเพื่อยับยั้งผู้ที่พบเห็นความเจ็บปวดต่อผู้ถูกตัดสิน ในบางสถานมีการลงโทษในที่สาธารณะเพื่อให้คนอื่นๆ ได้เห็นถึงความเจ็บปวด แม้ว่าจะผิดกฎหมายในสหรัฐอเมริกา แต่การลงโทษในที่สาธารณะยังคงใช้ในประเทศอื่น ตัวอย่างเช่น

  • ในเดือนสิงหาคม ค.ศ.2001 ไนจีเรียได้เปิดตัวกฎหมายชารีอะห์หรือกฎหมายอิสลามที่อนุญาตให้ใช้ การลงโทษทางร่างกาย

  • ในเดือนเดียวกันนั้น อิหร่านตัดสินให้คน 20 คน ถูกเฆี่ยนด้วยแอลกอฮอล์

  • ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ.2001 ซาอุดีอาระเบียเฆี่ยนตีเยาวชน 55 คน ฐานล่วงละเมิดผู้หญิง

  • ในทำนองเดียวกัน Human Rights Watch รายงานว่าภายใต้ระบอบการปกครองของซัดดัม ฮุสเซนในอิรัก ผู้ที่ฝ่าฝืนคำสั่งทหารหรือก่ออาชญากรรมอื่น ๆ อาจถูกลงโทษด้วยการตัดแขน ขา และหู

  • ใน​อังกฤษ​และ​สหรัฐอเมริกา การ​แขวน​คอ​ใน​ที่​สาธารณะ​ครั้ง​หนึ่ง​เคยถูก​นำ​ออก​สู่​สาธารณะ ประชาชนและสมาชิกในครอบครัวได้รับอนุญาตให้เข้าร่วมเพื่อที่พวกเขาจะได้เห็นว่าเกิดอะไรขึ้นกับคนที่ทำผิดกฎหมาย

  • ปัจจุบัน ยังคงมีผู้ให้การสนับสนุนเรียกร้องให้มีการประหารชีวิตทางโทรทัศน์เพื่อเป็นการยับยั้งการฆาตกรรม

2. การข่มขู่ยับยั้งโดยเฉพาะ (Specific Deterrence) โดยธรรมชาติของการลงโทษพื่อยับยั้งเฉพาะผู้กระทำความผิดจากการกระทำผิดซ้ำนั้น ผู้สนับสนุนการข่มขู่ยับยั้งโดยเฉพาะยังเชื่อว่าการลงโทษผู้กระทำความผิดอย่างรุนแรงจะทำให้พวกเขาไม่กล่าที่จะกระทำผิดอีกครั้งในอนาคต เช่น เมาแล้วขับจะถูกลงโทษได้รับความทุกข์ทรมานจากการถูกจับกุม หรือถูกริบใบอนุญาตหรือถูกยึดรถ เป็นต้น

ยุคต้นของนักปรัชญาแห่งทฤษฎีการป้องกันหรือการข่มขู่ยับยั้ง

ทฤษฎีการป้องกันหรือการข่มขู่ยับยั้ง สามารถเชื่อมโยงไปถึงนักปรัชญายุคคลาสสิก เช่น Thomas Hobbes (1588–1678), Cesare Beccaria (1738–1794) และ Jeremy Bentham (1748–1832) นักทฤษฎีเหล่านี้ร่วมกันประท้วงต่อต้านนโยบายทางกฎหมายที่ครอบงำความคิดของชาวยุโรปมาเป็นเวลากว่าพันปี และต่อต้านคำอธิบายทางจิตวิญญาณเกี่ยวกับอาชญากรรม นอกจากนี้ นักคิดสัญญาประชาคมเหล่านี้ยังเป็นรากฐานสำหรับทฤษฎี การป้องกันหรือการข่มขู่ยับยั้งสมัยใหม่ในด้านอาชญาวิทยาอีกด้วย

Thomas Hobbes (1588-1678)

ในเลวีอาธานซึ่งตีพิมพ์ในปี ค.ศ.1651 Hobbes ต่างจากปราชญ์ทางศาสนา Thomas Aquinas ที่ยืนยันว่า โดยธรรมชาติผู้คนจะกระทำความดีมากกว่าทำชั่ว Hobbes สันนิษฐานว่ามนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีเจตนารมณ์ของตนเองซึ่งต้องการบางสิ่งบางอย่าง และจะต่อสู้เมื่อความปรารถนาของพวกเขาขัดแย้งกัน ในมุมมองของ Hobbesian ผู้คนมักแสวงหาผลประโยชน์ของตนเอง เช่น ผลประโยชน์ทางวัตถุ ความปลอดภัยส่วนบุคคล และชื่อเสียงทางสังคม และสร้างศัตรูโดยไม่สนใจว่าจะเป็นอันตรายต่อผู้อื่นหรือไม่ เนื่องจากผู้คนมุ่งมั่นที่จะบรรลุผลประโยชน์ของตนเอง

Hobbes ยังชี้ให้เห็นอีกว่า มนุษย์มีเหตุมีผลมากพอที่จะตระหนักว่าธรรมชาติที่ตนเองสนใจจะนำไปสู่อาชญากรรมและความขัดแย้งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ อันเนื่องมาจากความแปลกแยกและการกีดกันของสมาชิกบางคนในสังคม เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหานี้ “ผู้คนตกลงที่จะละทิ้งความมีอัตตาของตัวเอง ตราบใดที่ทุกคนทำในสิ่งเดียวกันโดยประมาณ” นี่คือสิ่งที่ Hobbes เรียกว่า สัญญาประชาคม (Social Contract) เพื่อหลีกเลี่ยงสงคราม ความขัดแย้ง และอาชญากรรม

ผู้คนเข้าสู่สัญญาประชาคมกับรัฐบาล เพื่อที่จะปกป้องตัวเองจากสถานการณ์ความขัดแย้ง บทบาทของรัฐ คือ การบังคับใช้สัญญาประชาคมเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของสังคม Hobbes ระบุว่า อาชญากรรมก็ยังอาจเกิดขึ้นได้แม้ว่ารัฐบาลจะปฏิบัติหน้าที่แล้วก็ตาม ในกรณีนี้ Hobbes แย้งว่า การลงโทษอาชญากรรมต้องมากกว่าผลประโยชน์ที่มาจากการก่ออาชญากรรม การป้องปรามเป็นเหตุผลที่บุคคลถูกลงโทษเนื่องจากละเมิดสัญญาประชาคม และทำหน้าที่เพื่อรักษาข้อตกลงระหว่างรัฐกับประชาชน

Cesare Beccaria (1738–1794)

Cesare Beccaria ได้ตีพิมพ์บทความเรื่อง An Essay on Crimes and Punishments (เกี่ยวกับอาชญากรรมและการลงโทษ) ในปี ค.ศ.1764 ซึ่งเขาท้าทายสิทธิของรัฐในการลงโทษอาชญากรรม เขาเดินทางรอย Hobbes และนักเขียนยุคแห่งการรู้แจ้ง (Age of Enlightments) คนอื่นๆ ในศตวรรษที่ 18 ว่ากฎหมายควรได้รับการตัดสินโดย “Greatest happiness shared by the greatest number” เนื่องจากผู้คนสนใจแต่ตนเองอย่างมีเหตุมีผล พวกเขาจะไม่ก่ออาชญากรรมหากค่าใช้จ่ายในการก่ออาชญากรรมมีมากกว่าผลประโยชน์

หากจุดประสงค์เดียวของการลงโทษ คือ การป้องกันอาชญากรรมในสังคม Beccaria กล่าวว่า “การลงโทษจะไม่ยุติธรรม เมื่อความรุนแรงนั้นรุนแรงเกินกว่าที่จำเป็นเพื่อที่จะให้บรรลุการป้องปราม” ความรุนแรงที่มากเกินไปไม่ได้ทำให้อาชญากรรมลดลง กล่าวคือ ในมุมมองของ Beccaria การลงโทษที่รวดเร็วและแน่นอนเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันและควบคุมอาชญากรรม

Beccaria และนักทฤษฎีคลาสสิก เชื่อว่า มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีเหตุมีผลและมีเจตจำนงเสรี (Free will) ที่จะควบคุมการตัดสินใจของตนเอง เขาเน้นว่ากฎหมายควรบัญญัติ และเผยแพร่เพื่อที่ผู้คนจะได้รู้ถึงข้อบัญญัติในกฎหมายของชุมชน โดยอาศัยความชอบธรรมของการลงโทษทางอาญาในสัญญาประชาคม Beccaria ยังต่อต้านการทรมานและการกล่าวหาที่เป็นความลับ และเรียกร้องให้ยกเลิก นอกจากนี้ เขายังปฏิเสธการใช้โทษประหารและเสนอแนะให้จำคุกแทน

ตามคำกล่าวของ Beccaria เรือนจำควรมีมนุษยธรรมมากกว่านี้ และกฎหมายไม่ควรแยกแยะระหว่างคนรวยกับคนจน ผู้พิพากษาควรตัดสินความผิดและการบังคับใช้กฎหมายมากกว่าที่จะพิจารณาถึงเจตนารมณ์ของกฎหมาย กฎหมายจะมีประสิทธิภาพในการป้องกันอาชญากรรมได้นั้น การลงโทษจะต้องเหมาะสมกับการก่ออาชญากรรม เพื่อป้องกันอาชญากรรม ความเจ็บปวดจากการลงโทษจะต้องมีค่ามากกว่าความสุขที่ได้รับจากการก่ออาชญากรรม

Jeremy Bentham (1748–1832)

Bentham ผู้ร่วมสมัยของ Beccaria เป็นหนึ่งในนักปราชญ์ที่โด่งดังที่สุดในศตวรรษที่ 18 ด้านอาชญากรรม โดยในปี ค.ศ. 1780 เขาได้ตีพิมพ์ An Introduction to the Principles of Morals and Legislation ซึ่งเขาได้ประกาศหลักการอันโด่งดังของเขาเกี่ยวกับหลักอรรถประโยชน์ (Utility) เขากล่าวว่า “ธรรมชาติได้วางมนุษยชาติไว้ภายใต้การปกครองของสองผู้มีอำนาจ ได้แก่ ความเจ็บปวดและความสุข” Bentham เชื่อว่าศีลธรรมคือสิ่งที่ส่งเสริม “the greatest happiness of the greatest number” ซึ่งเป็นวลีที่ Beccaria ใช้เหมือนกัน หน้าที่ของรัฐในมุมมองของ Bentham คือ “ส่งเสริมความสุขของสังคม ด้วยการลงโทษและให้รางวัล”

Bentham รู้สึกไม่สบายใจกับการลงโทษตามอำเภอใจและความป่าเถื่อนที่พบในประมวลกฎหมายอาญาสมัยของเขาในอังกฤษ โดยสังเกตว่าการลงโทษทั้งหมดเป็นการสร้างความเสียหายและค่อนข้างรุนแรง กล่าวโดยสรุป วัตถุประสงค์ของกฎหมาย คือ การเพิ่มความสุขของประชาชนโดยเพิ่มความสุขและลดความเจ็บปวดของชุมชน การลงโทษที่เกินความจำเป็นในการยับยั้งผู้คนจากการละเมิดกฎหมายนั้นไม่มีความยุติธรรม

ความรุนแรง, ความแน่นอน,และความรวดเร็วของการลงโทษ

ทฤษฎีการป้องกันหรือการข่มขู่ยับยั้ง (Deterrence Theory) ที่พัฒนามาจากผลงานของ Hobbes, Beccaria และ Bentham อาศัยองค์ประกอบสามประการ คือ ความรุนแรง ความแน่นอน และความรวดเร็ว ยิ่งมีการพิจารณาการลงโทษที่รุนแรงมากขึ้นเท่าใด มนุษย์ที่พิจารณาอย่างมีเหตุมีผลก็จะยิ่งเลิกกระทำความผิดทางอาญามากขึ้นเท่านั้น เพื่อป้องกันอาชญากรรม กฎหมายอาญาจึงต้องเน้นที่บทลงโทษเพื่อส่งเสริมให้ประชาชนปฏิบัติตามกฎหมาย การลงโทษที่รุนแรงเกินไปนั้นไม่ยุติธรรม และการลงโทษที่ไม่รุนแรงเพียงพอจะไม่ยับยั้งอาชญากรจากการก่ออาชญากรรม

ความแน่นอนของการลงโทษ หมายถึง การทำให้แน่ใจว่าการลงโทษจะเกิดขึ้นทุกครั้งที่มีการกระทำความผิดทางอาญา นักทฤษฎีคลาสสิก เช่น Beccaria เชื่อว่าหากบุคคลรู้ว่าการกระทำที่ไม่พึงปรารถนาของพวกเขาจะถูกลงโทษ พวกเขาจะละเว้นจากการกระทำผิดในอนาคต นอกจากนี้ การลงโทษจะต้องรวดเร็วเพื่อยับยั้งอาชญากรรม ยิ่งใช้โทษรวดเร็วมากเท่าใด โอกาสที่ผู้กระทำความผิดจะตระหนักว่าอาชญากรรมไม่คุ้มที่จะเสี่ยงยิ่งมีมากขึ้นเท่านั้น กล่าวโดยสรุป นักทฤษฎีการยับยั้งเชื่อว่าหากการลงโทษรุนแรง แน่นอน และรวดเร็ว บุคคลที่มีเหตุมีผลจะวัดผลได้และการสูญเสียก่อนที่จะก่ออาชญากรรม และจะถูกขัดขวางจากการฝ่าฝืนกฎหมายหากการสูญเสียมากกว่าผลได้ นักปรัชญาคลาสสิกคิดว่าความแน่นอนในการป้องกันอาชญากรรมมีประสิทธิผลมากกว่าการลงทัณฑ์อย่างร้ายแรง

Related Post
ARTICLE

ฆาตกรต่อเนื่อง (Serial Killer)

ฆาตกรต่อเนื่องมีพฤติกรรมการไล่ล่าไม่ต่างจากปลาฉลาม ปลาฉลามไม่ได้โจมตีเหยื่อโดยบังเอิญ แต่จะสะกดรอยตามเหยื่อที่ซ่อนตัวอยู่ ฉลามจะพักคอยสังเกต

Read More »
ARTICLE

Mass murder ที่เป็น Serial killer และมีรสนิยม “ฆ่ายกครัว” (Anatoly Onoprienko)

ประเทศไทยได้เริ่มรู้จัก Mass murder กันหลายคดีตั้งแต่ปี 63 ถึงปัจจุบัน นับแต่จ่าคลั่งโคราชถึงนายสิบตำรวจอุทัยสวรรค์ สิ่งที่สร้างความเสียใจให้ทุกคน

Read More »