Crime Prevention through Environmental Design การป้องกันอาชญากรรมผ่านการออกแบบสิ่งแวดล้อม

ทฤษฎี Crime Prevention through Environmental Design หรือ การป้องกันอาชญากรรมผ่านการออกแบบสิ่งแวดล้อม (CPTED) เป็นทฤษฎีในการจัดการกับสภาพแวดล้อมเพื่อสร้างพื้นที่ใกล้เคียงที่ปลอดภัยยิ่งขึ้น มีต้นกำเนิดในอเมริการาวปี ค.ศ. 1961 Jane Jacob ได้ตีพิมพ์หนังสือ The Death and Life of Great American Cities กล่าวถึง ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมในชุมชนกับอาชญากรรม ซึ่งต่อมาในปี ค.ศ. 1971 C. Ray Jeffery ได้พัฒนาทฤษฎี Crime Prevention through Environmental Design (CPTED) Jeffery ให้ความสนใจที่เพิ่มขึ้นในอาชญาวิทยาสิ่งแวดล้อม ซึ่งนำไปสู่การศึกษารายละเอียดในหัวข้อเฉพาะ เช่น การเฝ้าระวังตามธรรมชาติ (natural surveillance), การควบคุมการเข้าถึง (access control), และการจำกัดอาณาเขต (territoriality)

Crime Prevention through Environmental Design (1971)

สืบเนื่องจากทฤษฎี “หน้าต่างแตก (Broken window)” ที่ละเลยการดูแลสภาพแวดล้อมจนเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาชญากรรม ทฤษฎีหน้าตากแตกตอกย้ำความจำเป็นในการบำรุงรักษาทรัพย์สินที่ดี เพื่อยืนยันความเป็นเจ้าของพื้นที่ที่มองเห็นได้ การออกแบบด้านสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมยังช่วยเพิ่มโอกาสในการตรวจตราและการจับกุม ซึ่งเป็นที่รู้จักว่าเป็นการยับยั้งการก่ออาชญากรรมทางเลือกหนึ่ง

คำนิยามของ Crime Prevention through Environmental Design

  • CPTED คือ การออกแบบที่เหมาะสมและการใช้สภาพแวดล้อมที่สร้างขึ้นอย่างเหมาะสมเพื่อลดความกลัวหรืออุบัติการณ์ของอาชญากรรม รวมถึงเป็นการปรับปรุงคุณภาพชีวิต เป้าหมายของ CPTED คือ การลดโอกาสในการก่ออาชญากรรมที่อาจมีอยู่ในการออกแบบโครงสร้างหรือในการออกแบบพื้นที่ใกล้เคียง (Crowe, 2000)
  • CPTED คือ การลดความเป็นไปได้ ความน่าจะเป็น และอันตรายจากเหตุการณ์อาชญากรรม และยกระดับคุณภาพชีวิตด้วยความปลอดภัยในชุมชน ผ่านกระบวนการวางแผนและออกแบบสิ่งแวดล้อมตามขนาดและประเภทของสถานที่ ตั้งแต่อาคาร และการตกแต่งภายในส่วนบุคคลไปจนถึงภูมิทัศน์ที่กว้างขึ้น ละแวกบ้านและเมืองต่างๆ เพื่อสร้างการออกแบบที่ เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ เหมาะสมตามบริบทเพื่อบรรลุความสมดุลระหว่างประสิทธิภาพในการหลีกเลี่ยงปัญหาอาชญากรรม ” (Ekblom , 2011)
  • คำจำกัดความที่เหมาะสมของ CPTED อาจเป็น: การออกแบบ การจัดการ และการจัดการสภาพแวดล้อมที่สร้างขึ้นเพื่อลดอาชญากรรม ลดความหวาดกลัวต่ออาชญากรรม เพื่อส่งเสริมความยั่งยืนผ่านกระบวนการและการประยุกต์ใช้มาตรการในระดับจุลภาค (อาคาร/โครงสร้างส่วนบุคคล) และระดับมหภาค (ระดับชาติ)

หลักการ CPTED

1. การจำกัดอาณาเขต (Defensible space and territoriality)

คำว่า Defensible Space ถูกคิดค้นโดย Oscar Newman (1972) ซึ่งแนะนำว่า การออกแบบทางกายภาพของพื้นที่ใกล้เคียงสามารถเพิ่ม หรือยับยั้งความรู้สึกของแต่ละคนในการควบคุมพื้นที่ที่พวกเขาอาศัยอยู่ Newman แบ่งพื้นที่ออกเป็นพื้นที่สาธารณะ (เช่น ถนนหน้าที่พัก), พื้นที่กึ่งสาธารณะ (เช่น สวนด้านหน้า), พื้นที่กึ่งส่วนตัว (เช่น สวนด้านหลัง) และพื้นที่ส่วนตัว (เช่น ภายในที่พัก) Newman กล่าวว่าหากการจำกัดอาณาเขตสามารถป้องกันอาชญากรรมได้ เนื่องจากจะมีความชัดเจนในส่วนสิทธิของบุคคลในการใช้พื้นที่นั้น อาจทำผ่านการติดตั้งป้ายที่หน้าบ้านหรือประตูทางเข้าที่ทำงาน

2. ควบคุมการเข้าออก (Access Control / Limiting through movement)

การควบคุมการเข้าออก หมายถึง มาตรการในการจำกัดการเข้าอาคาร หรือห้องเฉพาะภายในอาคาร

หลักการการควบคุมการเข้าออก มีดังนี้

  1. จำกัดโอกาสที่ผู้กระทำความผิดหรือเป้าหมายที่เป็นไปได้ในการก่ออาชญากรรม
  2. ทำให้ผู้กระทำผิดเข้าและออก ภายในพื้นที่ได้ยากขึ้น
  3. เพิ่มความยากทางกายภาพในการเข้าอาคาร/พื้นที่
  4. การเพิ่มการรับรู้ของผู้กระทำความผิดว่าการเดินทางผ่านพื้นที่จำกัดนี้ถูกจำกัดด้วยกฎระเบียบและอาจถูกจับจ้องมากขึ้นโดยผู้คน
  5. การลบข้อแก้ตัวของผู้กระทำความผิด หากพวกเขาถูกจับได้ในพื้นที่ๆห้ามเข้า และเพิ่มความมั่นใจให้ผู้ใช้ที่ถูกต้องตามกฎหมาย

3. การเฝ้าระวังโดยธรรมชาติ (Natural Surveillance)

การเฝ้าระวังตามธรรมชาติ อาศัยความสามารถในการโน้มน้าวการตัดสินใจของผู้กระทำความผิดก่อนการกระทำความผิดทางอาญา การตัดสินใจของอาชญากรก่อนจะกระทำผิดนั้นได้รับอิทธิพลจากการวิเคราะห์ความเสี่ยงที่จะถูกจับได้ ซึ่งการเฝ้าระวังตามธรรมชาติโดย CPTED เน้นการเสริมสร้างความเสี่ยงที่รับรู้จากการถูกตรวจพบและการจับกุม การสอดแนมตามธรรมชาติสามารถจำกัดโอกาสในการก่ออาชญากรรม โดยเพิ่มการรับรู้ว่า ผู้คนสามารถมองเห็นได้ การสอดแนมตามธรรมชาติเกิดขึ้นโดยการออกแบบการจัดวางลักษณะทางกายภาพ การทำกิจกรรมในชุมชน และการสัญจรของผู้คนในลักษณะที่จะเพิ่มการมองเห็นและส่งเสริมปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ผู้ที่อาจกระทำผิดรู้สึกว่ามีการตรวจสอบการกระทำผิดเพิ่มขึ้นและรับรู้เส้นทางหลบหนีไม่กี่ทาง อย่างไรก็ตาม ประสิทธิภาพในการยับยั้งอาชญากรรมนั้นแตกต่างกันไปตามผู้กระทำความผิดแต่ละราย

Jane Jacobs ผู้แต่ง The Death and Life of Great American Cities (1961) ได้กำหนดกลยุทธ์การสอดแนมตามธรรมชาติ หรือ ที่เรียกว่า eyes on the street กล่าวคือ ในขณะที่ผู้คนกำลังเคลื่อนที่ไปรอบๆ พื้นที่ ผู้คนจะสามารถสังเกตสิ่งที่เกิดขึ้นรอบตัวได้ หากพื้นที่นั้นเปิดโล่งและมีแสงสว่างเพียงพอ วิธีอื่นๆ ในการส่งเสริมการเฝ้าระวังตามธรรมชาติ ได้แก่ การจัดสวนระดับต่ำไม่สูงกว่าระดับสายตา การติดไฟถนน การออกแบบถนนที่ส่งเสริมให้คนใช้ถนนเดินเท้า การกำจัดที่ซ่อนและที่กำบัง และหลีกเลี่ยงการวางเป้าหมายที่มีความเสี่ยงสูง (สินค้าราคาแพง) เป็นต้น

การเฝ้าระวัง คือ วิธีการที่พื้นที่ได้รับการออกแบบเพื่อเพิ่มความสามารถของผู้ใช้พื้นที่อย่างเป็นทางการ (เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย ตำรวจ พนักงาน) หรือผู้ใช้พื้นที่อย่างไม่เป็นทางการ (ผู้อยู่อาศัย ผู้สัญจรไปมา) ตัวอย่างเช่น การติดตั้งกล้องวงจรปิด , การทำให้ทางเข้าที่อยู่อาศัยหันไปทางถนน ห้องที่หันไปทางถนนเป็นห้องที่มีการใช้งาน (เช่น ห้องครัวหรือห้องนั่งเล่น) และเส้นสายตาไม่ถูกบดบังด้วยไม้พุ่มหรือกำแพงสูง เป็นต้น

4. การจัดการและบำรุงรักษา (Management and maintenance)

การบำรุงรักษา กล่าวถึง การเสริมอาณาเขตของพื้นที่ใกล้เคียง ยิ่งพื้นที่ทรุดโทรมมากเท่าไร ก็ยิ่งมีโอกาสดึงดูดอาชญากรมากขึ้นเท่านั้น การบำรุงรักษาและ ‘ภาพลักษณ์’ ของพื้นที่อาจมีผลกระทบอย่างมากต่อการที่พื้นที่จะกลายเป็นเป้าหมาย การขยายแนวคิดอีกประการหนึ่งคือ ความห่วงใยในอาณาเขต ความสามัคคีในสังคม และความรู้สึกปลอดภัยทั่วไปสามารถเสริมสร้างได้ผ่านการพัฒนาเอกลักษณ์และภาพลักษณ์ของชุมชน วิธีการนี้สามารถปรับปรุงไม่เพียงแต่ภาพลักษณ์ของประชากรที่มีในตัวเองและขอบเขตของมันเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการฉายภาพนั้นให้ผู้อื่นทราบด้วย

การดูแลและบำรุงรักษาสถานที่ ทำให้สามารถใช้พื้นที่ได้อย่างต่อเนื่องตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งใจไว้ การเสื่อมสภาพของสถานที่บ่งชี้ถึงความกังวลและการควบคุมดูแลที่น้อยลงโดยผู้ใช้และบ่งชี้ถึงความอดทนต่อความผิดปกติที่มากขึ้น การบำรุงรักษาที่เหมาะสมจะป้องกันไม่ให้ทัศนวิสัยลดลง เช่น การทาสีสถานที่ให้ดูใหม่อยู่เสมอ การติดตั้งเสาไฟและดูแลไฟให้สว่างทุกดวงอยู่เสมอ และการติดตั้งกล้องวงจรปิดที่ใช้งานได้ เป็นต้น

5. Target Hardening

การเสริมความแข็งแกร่งของเป้าหมาย หรือการเสริมสร้างความมั่นคงปลอดภัยของอาคาร เพื่อป้องกันกรณีถูกโจมตีหรือลดความเสี่ยงจากการถูกโจรกรรม เชื่อกันว่า “การป้องกันที่แข็งแกร่งและมองเห็นได้จะขัดขวางหรือชะลอการโจมตีจากอาชญากร” ในแง่ของธุรกิจและความปลอดภัยในบ้าน การเสริมสร้างความแข็งแกร่งของเผ้าหมาย เป็นหนึ่งในชุดของมาตรการป้องกันที่รวมอยู่ในการป้องกันอาชญากรรมผ่านการออกแบบด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งรวมถึงการตรวจสอบให้แน่ใจว่าประตูและหน้าต่างทั้งหมดมีได้ถูกติดตั้งในลักษณะที่สามารถต้านทานการจู่โจมของผู้บุกรุก การเสริมความแข็งแกร่งของเป้าหมาย รวมถึงการรักษาความปลอดภัยรอบนอกและระบบตรวจจับการเคลื่อนไหวที่เข้มงวดยิ่งขึ้น รั้วและประตู, ไฟส่องสว่างสำหรับการเคลื่อนไหว, แสงที่ได้รับการปรับปรุง, เซ็นเซอร์ตรวจจับการเคลื่อนไหวและเสียง, กล้องในสภาวะแสงน้อย เป็นต้น

การวิจัยที่อ้างอิง CPTED

  • CPTED ในการลดอาชญากรรมและความหวาดกลัวต่ออาชญากรรม (เช่น Armitage, 2006; Cozens, 2008; Cozens et al, 2005; Hillier and Sahbaz, 2009; Pascoe, 1999 )
  • กระบวนการนำหลักการ CPTED ไปใช้ในสภาพแวดล้อมของตำรวจและการวางแผน (เช่น Monchuk, 2011; 2016)
  • การพัฒนาเครื่องมือประเมินความเสี่ยงตาม CPTED เพื่อทำนาย และป้องกันความเสี่ยง (เช่น Armitage, 2006; Armitage et al, 2010 ; Van der Voordt และ Van Wegen, 1990; Winchester and Jackson, 1982)

References

Armitage, R. (2006) Predicting and Preventing: Developing a Risk Assessment Mechanism for Residential Housing. Crime Prevention and Community Safety: An International Journal. 8(3), 137-149.

Armitage, R. (2013) Crime Prevention through Housing Design: Policy and Practice. Palgrave Macmillan: Crime Prevention and Security Management Book Series.

Armitage, R, Monchuk, L, and Rogerson, M. (2010) It Looks Good, But What is it Like to Live There? Assessing the Impact of Award Winning Design on Crime. Special Volume of European Journal on Criminal Policy and Research. 17(1), 29-54.

Cozens, P. (2008) New Urbanism, Crime and the Suburbs: A Review of the Evidence. Urban Policy and Research. 26(3), 1-16.

Cozens, P., Saville, G. and Hillier, D. (2005) Crime Prevention Through Environmental Design (CPTED): A Review and Modern Bibliography. Property Management. 23, 328-356.

Ekblom, P. (2011) Deconstructing CPTED…and Reconstructing it for practice, knowledge, management and research. European Journal on Criminal Policy and Research. 17, 7-28.

Hillier, B. and Sahbaz O. (2009) Crime and Urban Design: An Evidence-based Approach in R. Cooper, G. Evans, and C Boyko (eds.) Designing Sustainable Cities. Chichester: Wiley-Blackwell.

Jacobs, J. (1961) The Death and Life of Great American Cities. New York: Random House.

Jeffery, C.R. (1971) Crime Prevention Through Environmental Design. Beverly Hills, CA: Sage.

Monchuk, L. (2011) The Way Forward in Designing Out Crime? Greater Manchester Police Design for Security Consultancy. Safer Communities: A Journal of Practice, Opinion, Policy and Research. 10(3), 31-40.

Monchuk, L. (2016) Crime Prevention through Environmental Design (CPTED): Investigating its application and delivery in England and Wales. Thesis submitted to the University of Huddersfield.

Newman, O. (1972) Defensible Space: Crime Prevention Through Urban Design. New York: Macmillan.

Pascoe, T. (1999) Evaluation of Secured by Design in Public Sector Housing – Final Report. Watford: BRE.

Van Der Voordt, T.J.M. and Van Wegen, H.B.R. (1990) Testing Building Plans for Public Safety: Usefulness of the Delft Checklist. Netherlands Journal of Housing and Environmental Research. 5(2), 129-154.

Wilson, J.Q. and Kelling, G.L. (1982) The Police and Neighbourhood Safety. The Atlantic, March 1982, 29-38.

Winchester, S. and Jackson, H. (1982) Residential Burglary: The Limits of Prevention. Home Office Research Study Number 74. London: Home Office.

Related Post
ARTICLE

ฆาตกรต่อเนื่อง (Serial Killer)

ฆาตกรต่อเนื่องมีพฤติกรรมการไล่ล่าไม่ต่างจากปลาฉลาม ปลาฉลามไม่ได้โจมตีเหยื่อโดยบังเอิญ แต่จะสะกดรอยตามเหยื่อที่ซ่อนตัวอยู่ ฉลามจะพักคอยสังเกต

Read More »
ARTICLE

Mass murder ที่เป็น Serial killer และมีรสนิยม “ฆ่ายกครัว” (Anatoly Onoprienko)

ประเทศไทยได้เริ่มรู้จัก Mass murder กันหลายคดีตั้งแต่ปี 63 ถึงปัจจุบัน นับแต่จ่าคลั่งโคราชถึงนายสิบตำรวจอุทัยสวรรค์ สิ่งที่สร้างความเสียใจให้ทุกคน

Read More »