THEOERY

Defensible space Theory 

Defensible Space Theory หรือ ทฤษฎีพื้นที่ป้องกันอาชญากรรม ผู้บุกเบิกยุคแรก ๆ คือ Jane Jacobs ได้ใช้วลีคำว่า “eyes on the street หรือ ดวงตาบนถนน” ซึ่งใช้ในบทความเรื่อง The Death and Life of Great

Read More...

Radical Theory

อาชญาวิทยาแนวรุนแรง (Radical Criminology) มีรากฐานมาจากแนวคิดของ Marxist โดยทฤษฎีนี้ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นในสหรัฐอเมริกาในช่วงทศวรรษที่ 1960 ท่ามกลางการเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิพลเมืองและต่อต้านสงคราม การประท้วงของนักศึกษาและชนกลุ่มน้อยทำให้นักสังคมวิทยาและนักอาชญาวิทยามองหาคำอธิบายสถานการณ์ความไม่สงบทางสังคมและการเมืองในอเมริกา นอกจากนี้ ขณะนั้นยังเกิดความขัดแย้งเกี่ยวกับปัญหาทางเชื้อชาติและสงครามเวียดนามส่งผลให้เกิดความขัดแย้งกับรัฐ รวมทั้งการจลาจลและความรุนแรงในรูปแบบอื่นๆ รัฐบาล นักวิจัย และนักวิชาการต่างหาทางตอบโต้และควบคุมการเคลื่อนไหวเหล่านี้ ซึ่งในที่สุดจะนำไปสู่การขยายตัวอย่างรวดเร็วของกระบวนการยุติธรรมทางอาญา นักอาชญาวิทยาแนวรุนแรงได้นำแนวคิดทางอุดมการณ์มาสู่อาชญาวิทยา โดยเปลี่ยนจุดสนใจจากความรับผิดชอบส่วนบุคคลในอาชญากรรมและมุ่งสู่ประเด็นทางสังคมโดยรวม อาชญาวิทยาแนวรุนแรง บางครั้งเรียกว่า Marxist, Conflict, or Critical Criminology มุมมองเชิงอุดมการณ์ที่กำหนดไว้ในช่วงปีแรก

Read More...

Collective Efficacy Theory

คำว่า ประสิทธิภาพของการรวมกลุ่ม (Collective Efficacy) ถูกนำมาใช้เป็นแนวคิดครั้งแรกโดย Bandura (1982, 1986) การพิจารณาแนวคิดในช่วงแรกๆ ส่วนใหญ่เป็นแนวคิดเกี่ยวกับประสิทธิภาพของการรวมกลุ่มในกลุ่มขนาดใหญ่มาก เช่น ประชาชาติและขบวนการทางสังคม ต่อมาช่วง 1990s แนวคิดทางสังคมศาสตร์เกิดขึ้นเมื่อ Sampson (2006) นำแนวคิดนี้ไปใช้กับการศึกษาย่านชุมชนใน Chicago การศึกษาของเขาได้สรุปแนวคิดว่า “ประสิทธิภาพของการรวมกลุ่มเป็นคุณสมบัติของชุมชนที่อาจสามารถช่วยล้อาชญากรรมความรุนแรงได้”  ทฤษฎีประสิทธิภาพของการรวมกลุ่ม (Collective Efficacy Theory) เป็นกระบวนการของการกระตุ้นหรือเปลี่ยนความสัมพันธ์ทางสังคมในหมู่ผู้อยู่อาศัยในละแวกใกล้เคียง เพื่อให้บรรลุเป้าหมายร่วมกัน เช่น

Read More...

Space Transitional Theory

ทฤษฎีการเปลี่ยนผ่านเชิงพื้นที่ (Space Transitional Theory) ได้รับการตีพิมพ์ครั้งแรกในหนังสือชื่อ “Crimes of the Internet” ในปี 2008 โดย K. Jaishankar ทฤษฎีนี้เป็นหนึ่งทฤษฎีอาชญาวิทยาที่ถูกกล่าวถึงบ่อยที่สุดในการอธิบายอาชญากรรมไซเบอร์ (cybercrime) ทฤษฎีนี้มองว่าการเกิดขึ้นของพื้นที่โลกออนไลน์ เป็นสถานที่ใหม่ของแหล่งเกิดอาชญากรรม และใช้อธิบายสาเหตุของอาชญากรรมในพื้นที่โลกออนไลน์ โลกปัจจุบันเดินทางมาถึงช่วงเวลาที่ไม่มีนักวิทยาศาสตร์หรือนักสังคมวิทยาท่านใดที่สามารถอธิบายปรากฏการณ์โดยรวมของอาชญากรรมทางไซเบอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพเท่ากับ Jaishankar “ทฤษฎีการเปลี่ยนผ่านเชิงพื้นที่ อธิบายธรรมชาติของพฤติกรรมบุคคลที่สอดคล้องและไม่สอดคล้องกันในพื้นที่ของโลกความเป็นจริงและในพื้นที่โลกออนไลน์ การเปลี่ยนผ่านเชิงพื้นที่ เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่ของบุคคลจากพื้นที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง เช่น จากพื้นที่ของโลกความเป็นจริงไปยังโลกไซเบอร์

Read More...

Marxist Theory of Crime

Marxism เป็นทฤษฎีโครงสร้างความขัดแย้งในสังคมวิทยา ริเริ่มแนวคิดโดย Karl Marx and Friederich Engels (1848) กล่าวถึงโครงสร้างในสังคมที่ใช้แนวทาง top-down หรือ จากบนลงล่าง โดยพิจารณาการทำงานในแง่ของความสัมพันธ์เชิงสถาบันซึ่งกำหนดพฤติกรรมของมนุษย์ Marxism เชื่อว่าความขัดแย้งทางชนชั้นเป็นแก่นแท้ของทุกสังคม ความขัดแย้งนี้เกิดขึ้นระหว่างผู้มีอำนาจและผู้ไร้อำนาจ ซึ่งเกิดตามธรรมชาติของระบบทุนนิยม การควบคุมทางสังคมดำเนินการโดยชนชั้นนายทุน (ชนชั้นปกครอง) กับชนชั้นกรรมาชีพ (ชนชั้นกรรมกร) โดยอิงตามการกำหนดระดับทางเศรษฐกิจ (economic determinism)  Economic determinism หมายถึง แนวคิดที่ว่าความสัมพันธ์ที่สำคัญที่สุดของสังคมคือสิ่งที่อยู่บนพื้นฐานของปัจจัยทางเศรษฐกิจ (เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง) กล่าวคือ

Read More...

Differential Opportunity Theory

ทฤษฎีของโอกาสที่แตกต่างกัน (Differential opportunity theory) โดย Richard Cloward และ Lloyd Ohlin (1960) ได้แสดงถึงความเชื่อมโยงระหว่างทฤษฎี Differential association, Subculture, Strain และ Social Disorganization โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของทฤษฎีการคบหาสมาคมที่แตกต่างของ Sutherland เริ่มจากสมมติฐานที่ว่าแรงจูงใจของการกระทำผิดทางอาญา เทคนิคในการกระทำผิด และการหาเหตุผลเข้าข้างตนเองนั้นเรียนรู้ผ่านการคบหาสมาคมกับอาชญากร นอกจากนี้ Cloward และ Ohlin ได้ต่อยอดแนวคิดของ Merton และ Cohen ที่ว่าพฤติกรรมเบี่ยงเบนเป็นผลมาจากแรงกดดันเฉพาะของชั้นในการปรับตัวหรือการเข้าถึงวิธีการที่ถูกต้องที่ถูกจำกัดของชนชั้นที่ต่ำกว่าและการปรับตัวนี้มักจะเกิดขึ้นรวมกันผ่านกระบวนการปฏิสัมพันธ์ในกลุ่ม Cloward และ Ohlin โต้แย้งว่า Cohen ว่าไม่ใช่ทุกคนที่ประสบปัญหาการปรับตัวจนผันตัวกลายเป็นอาชญากร “โอกาสที่แตกต่างในการเข้าถึงการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเป็นสาเหตุสำคัญด้วยเช่นกัน” ตัวอย่างเช่น

Read More...

Labelling Theory ทฤษฎีตีตรา

ทฤษฎีการตีตราเน้นว่า ความคิดเห็นของผู้อื่นมีอิทธิพลต่อวิธีที่เราคิดต่อตนเองอย่างไร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทฤษฎีการตีตราบอกว่า เมื่อคนอื่นมองว่าเราเป็นอาชญากร เราจะเปลี่ยนแนวความคิดในตนเองเพื่อให้เข้ากับสิ่งที่คนอื่นคิดเกี่ยวกับเรา และหากพวกเขาตีตราว่าเราเป็นผู้ร้าย เราก็จะดำเนินการตามการตีตรานั้นในที่สุด กล่าวอีกนัยหนึ่งเราจะกลายเป็นผู้กระทำความผิดเพราะคนอื่นบอกว่าเราเป็นผู้กระทำความผิด แนวคิดเรื่องทฤษฎีการตีตรา เฟื่องฟูในสังคมวิทยาอเมริกันในช่วงทศวรรษ 1960 แนวคิดหลักสามารถสืบย้อนไปถึงงานของ Emile Durkheim, George Herbert Mead, Frank Tannenbaum,

Read More...

Institutional Anomie Theory

เหตุใดประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศแห่งอภิสิทธิ์ เสรีภาพ และมีความเป็นปัจเจก จึงมีอาชญากรรมเกิดขึ้นจำนวนมาก ?  ทฤษฎีการไร้กฎเกณฑ์ของสถาบันทางสังคม (Institutional Anomie Theory) พัฒนาขึ้นโดย Stephen F. Messner and Richard Rosenfeld ในงานเขียน Crime and

Read More...

Feminist Theory of Female Delinquency

ในช่วงทศวรรษ 1980 Meda Chesney-Lind ได้กล่าวสรุปว่า เหตุใดทฤษฎีอาชญาวิทยาจึงไม่เพียงพอในการอธิบายเกี่ยวกับการกระทำผิดของผู้หญิง โดยตั้งข้อสังเกตว่าทฤษฎีต่าง ๆ เกิดจากการมองผู้ชายเป็นศูนย์กลาง (Androcentric) โดยเน้นที่ประสบการณ์ของผู้ชาย ในปี 1988ผู้เขียนงานร่วมกัน Kathleen Daly และ Chesney-Lind โต้แย้งว่าการคิดในปัจจุบันไม่ได้ตระหนักถึงปัจจัยเฉพาะที่ทำให้ผู้หญิงตัดสินใจประกอบอาชญากรรมแตกต่างจากผู้ชาย มีข้อโต้แย้งว่าเด็กผู้หญิงที่กำลังเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมทางอาญามีจำนวนมากขึ้น นอกจากนี้ Chesney-Lind และ Lisa Pasko พบว่า ผู้หญิงมีส่วนร่วมในการกระทำความผิดทางอาญา โดยเฉพาะความผิดสำหรับเด็กและเยาวชนมากกว่าผู้ชาย เพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านี้ Chesney-Lind ได้พัฒนารูปแบบสตรีนิยม (Feminist Model) สำหรับการกระทำผิดของผู้หญิง

Read More...

Reintegrative Shaming

Shaming การทำให้อับอาย อธิบายรูปแบบของปฏิกิริยาของคนในสังคมต่อบุคคลที่มีพฤติกรรมเบี่ยงเบน Braithwaite กล่าวว่า การทำให้อับอายแบ่งเป็น 2 รูปแบบ อันดับแรก Disintegrative shaming หรือ การทำให้อับอายแบบตีตรา เป็นการทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียง (stigmatising) และกีดกันบุคคลจากชุมชน ดังนั้นจึงทำให้เกิดความเบี่ยงเบนแบบทุติยภูมิ (secondary deviance) และผู้กระทำผิดไม่อาจกลับคืนสู่สังคมจากการตีตรา

Read More...