Defensible space Theory 

Defensible Space Theory หรือ ทฤษฎีพื้นที่ป้องกันอาชญากรรม ผู้บุกเบิกยุคแรก ๆ คือ Jane Jacobs ได้ใช้วลีคำว่า “eyes on the street หรือ ดวงตาบนถนน” ซึ่งใช้ในบทความเรื่อง The Death and Life of Great American Cities ปี 1961 เพื่ออธิบายถึงสภาพแวดล้อมที่สร้างขึ้นมา ประกอบด้วย พื้นที่สาธารณะ ให้มีสามารถมองเห็นได้อยู่เสมอ Jacob วิพากษ์วิจารณ์ถึงหลักการวางผังเมืองสมัยใหม่ที่ทำให้ผู้อยู่อาศัยขาดการติดต่อทางสังคมจากกันและกันและจากสภาพแวดล้อมทางกายภาพ เธอได้ให้การสนับสนุนเรื่อง การเพิ่มความหนาแน่นของพื้นที่ และการวางแนวโครงสร้างใหม่ของอาคารให้หันไปทางถนน Jacob เพิ่มข้อโต้แย้งว่าพื้นที่เปลี่ยว มืด และมีลักษณะปิดระหว่างอาคารนั้นจะก่อให้เกิดอาชญากรรมบนท้องถนน ในขณะที่ทัศนวิสัยแบบโล่งกว้างบริเวณชุมชนเมืองจะทำหน้าที่เป็นตัวยับยั้งการเกิดอาชญากรรมได้ดีกว่า แนวคิดของเธอได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามีอิทธิพลต่อทั้งการนำไปปฏิบัติและได้มีนักทฤษฎีที่พยายามอธิบายเกี่ยวกับการออกแบบสิ่งแวดล้อมเพื่อป้องกันอาชญากรรมเพิ่มเติมจากแนวคิดนี้อีกด้วย

หลังจากนั้นไม่นาน Oscar Newman ได้ขยายแนวคิดงานของ Jacobs พัฒนาเป็นทฤษฎีพื้นที่ป้องกันของสถาปนิกและนักวางผังเมือง Oscar Newman ครอบคลุมแนวคิดเกี่ยวกับการป้องกันอาชญากรรมและความปลอดภัยของพื้นที่ใกล้เคียง Newman ให้เหตุผลว่าการออกแบบสถาปัตยกรรมและสิ่งแวดล้อมมีส่วนสำคัญในการเพิ่มหรือลดอาชญากรรม ทฤษฎีนี้พัฒนาขึ้นในช่วงต้นทศวรรษ 1970 และเขาได้เขียนหนังสือเล่มแรกในหัวข้อ Defensible Space ในปี 1972 หนังสือเล่มนี้ประกอบด้วยการศึกษาจาก New York ที่ชี้ให้เห็นว่าอัตราการเกิดอาชญากรรมใน high-rise housing projects สูงกว่า low-rise complexes โดยสรุปว่าเป็นเพราะผู้อยู่อาศัยรู้สึกว่าไม่มีการควบคุมหรือความรับผิดชอบส่วนตัวสำหรับพื้นที่ที่มีผู้คนจำนวนมากครอบครอง ตลอดการศึกษาของ Newman มุ่งเน้นไปที่การอธิบายแนวคิดเกี่ยวกับการควบคุมทางสังคม การป้องกันอาชญากรรม และสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบชุมชน

จึงกล่าวได้ว่า Defensible Space Theory เป็นทฤษฎีที่ว่าด้วยการยืนยันว่าการออกแบบพื้นที่ทางกายภาพมีอิทธิพลต่อวิถีการใช้ชีวิตของผู้อยู่อาศัยในพื้นที่และบุคคลภายนอกซึ่งเป็นผู้ที่มีปฏิสัมพันธ์กับพื้นที่นั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่เขตเมือง พื้นที่ภายในหรือภายนอกอาคารถือเป็นพื้นที่ป้องกันเหตุอาชญากรรมได้เมื่อมีผู้อาศัยในอาคาร และผู้อาศัยสามารถควบคุมความปลอดภัยในพื้นที่ส่วนตัวของตนของพื้นที่นั้นได้ การควบคุมดังกล่าวอาจรวมถึงการจัดสรรที่อยู่อาศัย และการช่วยกันสอดส่องดูแลพื้นที่ ตามทฤษฎี Defensible space Theory บริเวณพื้นที่ในเมืองที่ได้รับการออกแบบอย่างดีในการมีพื้นที่ป้องกันอาชญากรรมได้จะส่งเสริมพลวัตทางสังคมในเชิงบวก ในขณะเดียวกันก็สามารถยับยั้งสิ่งที่เป็นลบที่จะเกิดได้ดีกว่า เช่น อาชญากรรมที่เกี่ยวกับทรัพย์สินหรืออาชญากรรมพื้นฐานที่ส่งผลต่อปัจเจกบุคคล

การสร้าง Defensible Space ตามทฤษฎีระบุไว้ว่า พื้นที่จะปลอดภัยกว่าเมื่อผู้คนรู้สึกเป็นเจ้าของและรับผิดชอบต่อชุมชน หากผู้บุกรุกสามารถสัมผัสได้ถึงชุมชนที่เฝ้าระวัง อาชญากรจะรู้สึกปลอดภัยน้อยลงเมื่อจะตัดสินใจก่ออาชญากรรม แนวคิดคืออาชญากรรมและการกระทำผิดสามารถควบคุมและบรรเทาได้ด้วยการออกแบบสิ่งแวดล้อม

องค์ประกอบของ Defensible Space:

1.อาณาเขต (Territoriality) – ความคิดที่ว่าบ้านเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์

2.การเฝ้าระวังตามธรรมชาติ (Natural surveillance) – การเชื่อมโยงระหว่างลักษณะทางกายภาพของพื้นที่กับความสามารถของผู้อยู่อาศัยในการมองเห็นสิ่งที่เกิดขึ้น

3.สร้างภาพลักษณ์ (Image) – ความสามารถของการออกแบบทางกายภาพเพื่อให้ความรู้สึกปลอดภัย

4.สภาพแวดล้อม (Milieu) – คุณสมบัติอื่นๆ ที่อาจส่งผลต่อความปลอดภัย เช่น ใกล้กับสถานีตำรวจหรือย่านการค้าที่มีผู้คนพลุกพล่าน

5.พื้นที่เชื่อมต่อที่ปลอดภัย (Safe Adjoining Areas) – เพื่อความปลอดภัยที่ดีขึ้น ผู้อยู่อาศัยสามารถเฝ้าระวังพื้นที่ติดกันได้สูงขึ้นผ่านการออกแบบพื้นที่ติดกัน

พื้นที่ป้องกันอาชญากรรมได้หมายถึงพื้นที่ทางกายภาพภายนอกบ้านที่ผู้อยู่อาศัยในบ้านหลังนั้นเข้าใจว่าเป็นพื้นที่ส่วนตัวของตนเอง ซึ่งพวกเขาอาจครอบครองและมีปฏิสัมพันธ์ด้วย Newman โต้แย้งว่าการออกแบบทางกายภาพของชุมชนที่อยู่อาศัยเป็นปัจจัยหลักในการตัดสินว่าพื้นที่ส่วนตัวเป็นพื้นที่ที่สามารถป้องกันอาชญากรรมได้หรือไม่ ในบรรดาคำวิจารณ์ของ Newman ที่มีต่อ Pruitt-Igoe ก็คือ ผู้อยู่อาศัยมีความเข้าใจพื้นที่บริเวณภายนอกของที่อยู่อาศัยของตนว่าเป็นพื้นที่สาธารณะ ไม่ใช่พื้นที่ส่วนบุคคล ดังนั้น ผู้อยู่อาศัยจึงไม่ได้ใช้ตระหนักในสิทธิของตัวเองในพื้นที่สาธารณะนั้นทำให้บริเวณพื้นที่สาธารณะกลายเป็นแหล่งที่ก่อเกิดผู้กระทำผิดและอาชญากรอย่างรวดเร็ว

นอกจากนี้ โครงการบ้านจัดสรรที่ประสบความสำเร็จที่ Carr Square Village ประกอบด้วยอาคารห้องแถวที่เอื้อต่อผู้อยู่อาศัยในการใช้สิทธิ์และครอบครองพื้นที่นอกบ้านของตนNewman แย้งว่าพื้นที่ส่วนตัวที่มีการควบคุมเหล่านี้ช่วยส่งเสริมสภาพแวดล้อมทางสังคมที่ดีกว่าพื้นที่สาธารณะ ซึ่งมักเป็นพื้นที่ว่างเปล่าและขาดบรรทัดฐานทางสังคมที่ชัดเจน นอกเหนือจากความเข้าใจเกี่ยวกับพื้นที่ที่สามารถป้องกันได้ ลักษณะทางกายภาพชุมชนของชุมชนขนาดเล็กก็เป็นส่วนสำคัญของทฤษฎีพื้นที่ป้องกันเช่นกัน เช่น แสงสว่าง ม้านั่ง และพื้นที่สีเขียวจะช่วยส่งเสริมเรื่องการรู้สึกมีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ภายนอกของผู้อยู่อาศัยบริเวณนั้น และนำไปสู่การลดการเกิดเหตุอาชญากรรม

ในทางกลับกันหากมีสิ่งของหรือวัตถุอื่น ๆ เยอะในพื้นที่ อาจสร้างบริเวณในการซ่อนตัวของอาชญากรและขัดขวางทัศนียภาพต่อผู้อยู่อาศัยในการมองเห็นพื้นที่นอกบ้าน ทำให้สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเกิดเหตุอาชญากรรมสูงกว่าบริเวณที่โล่งเตียน แนวคิดเหล่านี้สร้างจากทฤษฎี Broken Windows โดยเน้นความสำคัญของการครอบครองพื้นที่ ไม่ใช่แค่การมีอยู่ของคุณลักษณะด้านสิ่งแวดล้อมที่ดีบางอย่างเท่านั้น นอกจากนี้ Broken Windows ยังเน้นย้ำถึง “ความชั่วร้าย” ทางกายภาพและสัญลักษณ์เชิงลบอื่น ๆ ที่บ่งบอกถึงความไม่เป็นระเบียบของสังคม ซึ่งการขยายความหมายออกไปเป็นเพียงการชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นในการบำรุงรักษาพื้นที่เชิงกายภาพ เช่นเดียวกับคุณสมบัติความปลอดภัยการออกแบบทางกายภาพอื่น ๆ 

ทฤษฎีพื้นที่ป้องกันอาชญากรรมถูกมองว่าสามารถยับยั้งอาชญากรรมบนท้องถนน(Street crime) ได้ และสามารถลดความหวาดกลัวจากการใช้ชีวิตถนนโดยเฉพาะบริเวณในเมืองหรือธุรกิจ พื้นที่ป้องกันอาชญากรรมจะส่งเสริมพฤติกรรมอาณาเขต (territorial behavior) มากขึ้น เช่น เช่น การปรับแต่งที่พักอาศัยให้มีความสวยงามของผู้พักอาศัยในพื้นที่ที่อยู่อาศัยจะสามารถเพิ่มการควบคุมทางสังคมอย่างไม่เป็นทางการได้ และการใช้สอยพื้นที่สาธารณะของชุมชนจะสามารถกระตุ้นให้ผู้ที่อาศัยได้ทำความรู้จักกับเพื่อนบ้านนำไปสู่การช่วยกันสังเกต และ ซึ่งสามารถนำไปสู่การเสริมสร้างความปลอดภัยในพื้นที่สาธารณะมากขึ้น ระบบนี้จะช่วยเพิ่มทัศนวิสัยและความรู้สึกปลอดภัยทั่วทั้งพื้นที่ เพื่อให้ผู้อยู่อาศัย ผู้ท่องเที่ยวและคนที่เดินตามท้องถนนรู้สึกถึงการควบคุมที่ดีขึ้น องค์ประกอบการออกแบบพื้นที่สาธารณะของทฤษฎีพื้นที่ที่สามารถป้องกันอาชญากรรมอาจยับยั้งอาชญากรรมบนท้องถนน (Street crime) 

สรุปได้ว่า ความเข้าใจเกี่ยวกับสิ่งที่เหมือนกันเหล่านี้นำไปสู่การสร้างทฤษฎี Defensible space Theory ในบริบทของที่อยู่อาศัย โดยให้ความสำคัญกับคุณภาพของพื้นที่สาธารณะ ทำให้เมืองนั้นเป็นเมืองที่น่าอยู่ เพื่อลดโอกาสในการเกิดอาชญากรรมในชุมชน


References

Bruce L. Benson (August 1998). To Serve and Protect: Privatization and Community in Criminal Justice. NYU Press. p. 159.

Fisher, B., Anthony, D.L., & Perkins, D.D. (2013). Defensible space theory. In J.I. Ross (Ed.), Encyclopedia of Street Crime in America (pp. 130-133).

Jeffrey Ian Ross (1 March 2013). Encyclopedia of Street Crime in America. SAGE Publications. p. 131. 

Newman, O. (1972). Defensible space: Crime prevention through urban design. New York:Macmillan.

Newman, O. (1980). Community of interest. Garden City, NY: Anchor Press/Doubleday.

Newman, O. (1996). Creating defensible space. Washington, DC: U.S. Department of Housing and Urban Development.

Related Post
ARTICLE

ฆาตกรต่อเนื่อง (Serial Killer)

ฆาตกรต่อเนื่องมีพฤติกรรมการไล่ล่าไม่ต่างจากปลาฉลาม ปลาฉลามไม่ได้โจมตีเหยื่อโดยบังเอิญ แต่จะสะกดรอยตามเหยื่อที่ซ่อนตัวอยู่ ฉลามจะพักคอยสังเกต

Read More »
ARTICLE

Mass murder ที่เป็น Serial killer และมีรสนิยม “ฆ่ายกครัว” (Anatoly Onoprienko)

ประเทศไทยได้เริ่มรู้จัก Mass murder กันหลายคดีตั้งแต่ปี 63 ถึงปัจจุบัน นับแต่จ่าคลั่งโคราชถึงนายสิบตำรวจอุทัยสวรรค์ สิ่งที่สร้างความเสียใจให้ทุกคน

Read More »