Marxist Theory of Crime

Marxism เป็นทฤษฎีโครงสร้างความขัดแย้งในสังคมวิทยา ริเริ่มแนวคิดโดย Karl Marx and Friederich Engels (1848) กล่าวถึงโครงสร้างในสังคมที่ใช้แนวทาง top-down หรือ จากบนลงล่าง โดยพิจารณาการทำงานในแง่ของความสัมพันธ์เชิงสถาบันซึ่งกำหนดพฤติกรรมของมนุษย์ Marxism เชื่อว่าความขัดแย้งทางชนชั้นเป็นแก่นแท้ของทุกสังคม ความขัดแย้งนี้เกิดขึ้นระหว่างผู้มีอำนาจและผู้ไร้อำนาจ ซึ่งเกิดตามธรรมชาติของระบบทุนนิยม การควบคุมทางสังคมดำเนินการโดยชนชั้นนายทุน (ชนชั้นปกครอง) กับชนชั้นกรรมาชีพ (ชนชั้นกรรมกร) โดยอิงตามการกำหนดระดับทางเศรษฐกิจ (economic determinism)  Economic determinism หมายถึง แนวคิดที่ว่าความสัมพันธ์ที่สำคัญที่สุดของสังคมคือสิ่งที่อยู่บนพื้นฐานของปัจจัยทางเศรษฐกิจ (เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง) กล่าวคือ ความสัมพันธ์อื่นๆ ทั้งหมด เช่น ความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมหรือการเมือง ล้วนถูกกำหนดโดยรูปแบบของความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ Karl Marx and Friederich Engels (wikimedia commons) Marxism เชื่อว่าระบบเศรษฐกิจทุนนิยม คือ อาชญากร หรือ เป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดพฤติกรรมเบี่ยงเบนในสังคม (criminogenic) การเกิดขึ้นของอาชญากรรมและพฤติกรรมเบี่ยงเบนถูกอธิบายโดย Marxism ว่าเป็นผลมาจากธรรมชาติของระบบทุนนิยม ลักษณะสำคัญคือการเพิ่มผลกำไรสูงสุดผ่านการเป็นเจ้าของกิจการส่วนตัวเหนือวิธีการผลิต Marxism ให้เหตุผลว่าระบบทุนนิยมส่งเสริมการแข่งขัน ความโลภ และการเอารัดเอาเปรียบโดยมีเป้าหมายเพื่อความสำเร็จส่วนบุคคล การพยายามครอบครองทางวัตถุทำให้เกิดแรงกดดันให้ผู้คนทำทุกวิถีทางเพื่อให้บรรลุเป้าหมายนี้แม้ว่าจะการกระทำจะฝ่าฝืนกฎหมายก็ตาม Marxism ตั้งข้อสังเกตว่าความกดดันในการบรรลุความมั่งคั่งส่งผลกระทบต่อสมาชิกทุกคนในสังคม Marxism เสนอว่าแรงกดดันในการบรรลุความมั่งคั่งส่งผลกระทบต่อสมาชิกทุกคนในสังคมไม่ว่าจะมาจากความยากจนหรือความมั่งคั่งก็ตาม เนื่องจากคุณค่าที่ติดอยู่กับผลประโยชน์ทางการเงิน การละเมิดกฎหมายจึงถูกมองว่าเป็นวิธีที่ถูกต้อง (หรือสมเหตุสมผล) แม้แต่อาชญากรรมที่ไม่มีผลประโยชน์ก็สามารถหาเหตุผลเข้าข้างตนเองได้ อันเป็นผลมาจากความผิดหวังที่เกิดจากแรงกดดันของทุนนิยม แม้ว่าการโจรกรรม การลักขโมย จะเป็นอาชญากรรมทั่วไปที่มีเป้าหมายเพื่อผลประโยชน์ทางการเงินแต่อาชญากรรมที่คนรวยก่อขึ้นก็มีผลลัพธ์ด้านผลประโยชน์ทางการเงินที่คล้ายคลึงกัน เช่น การเลี่ยงภาษี การโจรกรรมทางปัญญา การลักลอบขนยาเสพติด การติดสินบนและการฟอกเงิน เป็นต้น […]