Feminist Theory of Female Delinquency

ในช่วงทศวรรษ 1980 Meda Chesney-Lind ได้กล่าวสรุปว่า เหตุใดทฤษฎีอาชญาวิทยาจึงไม่เพียงพอในการอธิบายเกี่ยวกับการกระทำผิดของผู้หญิง โดยตั้งข้อสังเกตว่าทฤษฎีต่าง ๆ เกิดจากการมองผู้ชายเป็นศูนย์กลาง (Androcentric) โดยเน้นที่ประสบการณ์ของผู้ชาย ในปี 1988ผู้เขียนงานร่วมกัน Kathleen Daly และ Chesney-Lind โต้แย้งว่าการคิดในปัจจุบันไม่ได้ตระหนักถึงปัจจัยเฉพาะที่ทำให้ผู้หญิงตัดสินใจประกอบอาชญากรรมแตกต่างจากผู้ชาย มีข้อโต้แย้งว่าเด็กผู้หญิงที่กำลังเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมทางอาญามีจำนวนมากขึ้น นอกจากนี้ Chesney-Lind และ Lisa Pasko พบว่า ผู้หญิงมีส่วนร่วมในการกระทำความผิดทางอาญา โดยเฉพาะความผิดสำหรับเด็กและเยาวชนมากกว่าผู้ชาย เพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านี้ Chesney-Lind ได้พัฒนารูปแบบสตรีนิยม (Feminist Model) สำหรับการกระทำผิดของผู้หญิง เธอแย้งว่าสังคมอเมริกันเป็นสังคมปิตาธิปไตย (Patriarchal) หมายความว่า สังคมถูกครอบงำโดยผู้ชายและผู้หญิงถูกผลักไสให้อยู่ในสถานะชั้นรอง เนื่องจากการปกครองแบบปิตาธิปไตยนี้ทำให้สตรีตกอยู่ในสถานการณ์ที่ไร้ซึ่งอำนาจ ผู้หญิงมีโอกาสตกเป็นเหยื่อทั้งทางเพศและทางร่างกายมากขึ้น การตกเป็นเหยื่อและการไร้อำนาจในบริบทของสังคมปิตาธิปไตยนี้ทำให้วัยรุ่นเพศหญิงมีพฤติกรรมเบี่ยงเบนเข้าสู่การกระทำผิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการตกเป็นเหยื่อของเพศหญิงที่กระตุ้นให้เหยื่อกลายเป็นอาชญากร ตัวอย่างเช่น ภรรยาที่แทงสามีจนเสียชีวิตเพราะทนทรมานจากการถูกทำร้ายร่างกายไม่ไหว นอกจากนี้ ระบบยุติธรรมเด็กและเยาวชนมีการปฏิบัติต่อการกระทำความผิดเพศหญิงแตกต่างจากเพศชาย ผู้หญิงมักถูกลงโทษรุนแรงกว่าเมื่อกระทำพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ (status offence) หากเปรียบเทียบกับฝ่ายชาย กระบวนการยุติธรรมจึงกลายเป็นเครื่องมือสำหรับการควบคุมทางสังคมเฉพาะสตรีอย่างเดียว หรือแท้จริงแล้วเป็นระบบที่มุ่งเป้าทำให้ผู้หญิงถูกกดขี่เพิ่มขึ้นจากอำนาจปิตาธิปไตย (Chesney-Lind, 1989) ความสำคัญของการศึกษาการกระทำความผิดของผู้หญิง เพื่อให้เข้าใจถึงความสำคัญทฤษฎีของ Chesney-Lind จำเป็นต้องเข้าใจความคิดสตรีนิยมและความไม่ครอบคลุมของทฤษฎีอาชญาวิทยากระแสหลัก ความคิดสตรีนิยมนำเสนอแนวคิดที่ว่า เพศมีผลกระทบต่อชีวิตทางสังคมทุกด้าน ทุกความสัมพันธ์ทางสังคมและทุกโครงสร้างทางสังคมได้รับผลกระทบจากการรับรู้ของชายและหญิง เนื่องจากอาชญากรรมเป็นโครงสร้างทางสังคม นักวิจัยสตรีนิยมจึงยืนยันว่าเพศมีผลกระทบต่ออาชญากรรม (Chesney-Lind & Pasko, 2004) นักสตรีนิยมยืนยันว่าผู้หญิงได้รับความเสียเปรียบในเรื่องเพศสภาพ เนื่องจากผู้หญิงไม่สามารถบรรลุเป้าหมายและศักยภาพในชีวิตทั้งหมดได้เนื่องจากการเลือกปฏิบัติและอคติ นอกจากนี้ เพื่อให้มีความเท่าเทียมกัน สังคมจึงต้องมีการเปลี่ยนแปลงอย่างยิ่ง […]

Reintegrative Shaming

Shaming การทำให้อับอาย อธิบายรูปแบบของปฏิกิริยาของคนในสังคมต่อบุคคลที่มีพฤติกรรมเบี่ยงเบน Braithwaite กล่าวว่า การทำให้อับอายแบ่งเป็น 2 รูปแบบ อันดับแรก Disintegrative shaming หรือ การทำให้อับอายแบบตีตรา เป็นการทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียง (stigmatising) และกีดกันบุคคลจากชุมชน ดังนั้นจึงทำให้เกิดความเบี่ยงเบนแบบทุติยภูมิ (secondary deviance) และผู้กระทำผิดไม่อาจกลับคืนสู่สังคมจากการตีตรา ในทางกลับกัน Reintegrative shaming หรือ การทำให้อับอายแบบบูรณาการ นอกจากจะกล่าวถึงการไม่ยอมรับการเบี่ยงเบน ยังเห็นความสำคัญของการให้อภัยและความเต็มใจที่จะยอมรับผู้กระทำความผิดกลับคืนสู่ชุมชนอีกด้วย จากทฤษฎีการตีตรา (Labelling theory), ทฤษฎีการควบคุมทางสังคม (Control theory) และทฤษฎีความไร้ระเบียบทางสังคม (social disorganization theory) Braithwaite ได้แยกแยะความแตกต่างระหว่างสองรูปแบบของการทำให้อับอาย (shaming) เพื่ออธิบายวิธีการลงโทษที่สำเร็จผล Braithwaite กล่าวถึงการทำให้อับอายว่า “เป็นกระบวนการทางสังคมทั้งหมดในการแสดงความไม่ยอมรับเจตนาหรือความสำนึกผิดในตัวผู้เคยกระทำความผิด โดยการประณามผู้กระทำผิดให้เกิดความละอาย” (Braithwaite, 1989: 100) Braithwaite แบ่งการทำให้อับอายออกเป็น 2 รูปแบบ ความแตกต่างที่สำคัญของการทำให้อับอายแบบบูรณาการและการทำให้อับอายแบบตีตรา คือ การแสดงออกถึงการไม่ยอมรับของชุมชน […]